พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 10 กรกฎาคม 2558 - 16 กรกฎาคม 2558

ข่าวทั่วไป Friday July 10, 2015 15:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 10 กรกฎาคม 2558 - 16 กรกฎาคม 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว เกษตรกรควรระวังและป้องกันสัตว์ศัตรูพืช เช่น กระรอก ค้างคาว และ ผีเสื้อมวนหวาน ตลอดจนแมลงวันผลไม้ ซึ่งจะกัดกิน ดูดกินน้ำหวาน และเข้าทำลายผล ทำให้ผลเน่าเสียหายผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ส่วนพื้นที่การเกษตรที่ดินมีความชื้นเพียงพอ และมีฝนตกสม่ำเสมอ เกษตรกรควรลงมือปลูกพืชได้ โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกและตะวันออกของภาค แต่ไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสะสมในแปลงปลูก เหมาะแก่การระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรค ได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สำหรับ เกษตรกรที่ตกกล้าในระยะนี้ไม่ควรตกกล้าแน่นจนเกินไป และควรหันหัวแปลงกล้าไปตามทิศทางลม เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน
  • เนื่องจากในช่วงฤดูฝนแมลงศัตรูสัตว์จะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูสัตว์ดังกล่าวมารบกวนสัตว์เลี้ยง เนื่องจากศัตรูสัตว์บางชนิดนอกจากจะสร้างความรำคาญให้กับสัตว์เลี้ยงแล้วยังเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์เลี้ยงด้วย
  • ระยะนี้ผู้ที่ปลูกพืชไร่ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ใบอ่อนและยอดอ่อนเสียหาย ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 10-13 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 14-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะต่อไปหลังจากฝนทิ้งช่วงผ่านไป ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก รวมทั้งดูแลอุปกรณ์สำหรับสูบน้ำเอาไว้ให้พร้อมใช้งาน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรยกพื้นคอกสัตว์ให้สูง และซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม ป้องกันสัตว์เปียกชื้นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และควรหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มและทำการรักษา นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วยโดยตรงหากมีความจำเป็นควรสวมถุงมือยางทุกครั้ง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนและเป็นโรค ได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 10-12 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก ทำให้พืชเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราได้
  • ส่วนสวนผลไม้ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง และขั้วผล และทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา รวมทั้งใส่ปุ๋ยเพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาพักตัวได้นาน
  • อนึ่ง ในระยะนี้ บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 13-15 ก.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • ระยะนี้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกพื้นที่ซี่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรที่ปลูกยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยพาะผลที่อยู่ชิดติดกัน หากพบควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้ผลเน่าเสียและลุกลามไปยังผลอื่นๆ
  • อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงมีโดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 13-15 ก.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร

  • ระยะนี้ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออกพื้นที่ซี่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน เกษตรกรที่ปลูกยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน โดยพาะผลที่อยู่ชิดติดกัน หากพบควรรีบกำจัด เพื่อไม่ให้ผลเน่าเสียและลุกลามไปยังผลอื่นๆ
  • อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรงมีโดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ