พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 12 สิงหาคม 2558 - 18 สิงหาคม 2558

ข่าวทั่วไป Thursday August 13, 2015 15:55 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 12 สิงหาคม 2558 - 18 สิงหาคม 2558

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศา เซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สำหรับบริเวณที่เคยเกิดอุทกภัยและเหตุการณ์ได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชไร่และพืชผักที่ให้ ผลผลิตเร็วหลังจากที่ทำการปรับปรุงสภาพดิน ระบบระบายน้ำ และบ่อหรือสระน้ำประจำไร่นาให้สามารถใช้งานได้อีกครั้ง เนื่องจากดินที่ถูกน้ำท่วมอาจมีเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเน่าในพืชปะปนอยู่ ดังนั้นเกษตรกรควรปรับสภาพดินหรืออาจคลุกเมล็ดพันธุ์ของพืชด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อราก่อนปลูก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง อาจทำให้มีน้ำบ่าไหลเข้า แปลงนา ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำ
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากน้ำลดลงแล้วเกษตรกรควรรีบระบายออกจากแปลงเพาะปลูก อย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนานเพราะจะทำให้รากขาดอากาศและตายได้ พร้อมกันนี้ควรพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้การได้ดีดังเดิม หากพบลำต้นล้มเอนควรดันให้ลำต้นตั้งตรงและผูกยึดให้แข็งแรง ตัดแต่งกิ่งที่ฉีกขาดและทารอยแผลด้วยสารป้องกันเชื้อรา

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ และหมั่นสำรวจแปลงปลูกเพราะอาจมีการระบาดของศัตรูพืชชนิดต่างๆ เช่น หนอนเจาะลำต้นและฝักในข้าวโพด หนอนกินใบผักชนิดต่างๆ เป็นต้น หากพบให้รีบกำจัด สำหรับถั่วและข้าวโพดเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตมาแล้วควรทำให้แห้งก่อนนำเข้าโรงเก็บเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราและสารอัลฟาทอกซิน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมขังโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่การเกษตรซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำระบบระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังไว้ด้วย
  • ระยะนี้สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรดูแลสวนผลไม้ให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องถึงโคนต้น เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะแตกใบอ่อน ชาวสวนควรระวังละป้องกันการะบาดของโรคโดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงที่ดินมีความชื้นสูง ตลอดจนกำจัดวัชพืชเพื่อมิให้เป็นแหล่งอาศัยหลบซ่อนของศัตูพืชชนิดต่างๆ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 13-15 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 16-18 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงฤดูฝน ซึ่งบางพื้นที่อาจมีฝนตกชุก ไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นกองอยู่ในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัดให้ถูกวิธีโดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรติดตามเฝ้าระวังสภาวะดังกล่าว ซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรได้
  • เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงฤดูฝน ซึ่งบางพื้นที่อาจมีฝนตกชุก ไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นกองอยู่ในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัดให้ถูกวิธีโดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ