พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 14 สิงหาคม 2558 - 20 สิงหาคม 2558

ข่าวทั่วไป Friday August 14, 2015 16:25 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 14 สิงหาคม 2558 - 20 สิงหาคม 2558

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 19-20 ส.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะลำไย เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียและร่วงหล่นกองอยู่ในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัดโดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังฝนตกใหม่ อาจทำให้อุณหภูมิของน้ำในระดับบนและในระดับลึกแตกต่างกัน เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกัน และการเปิดเครื่องตีน้ำจะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 15-17 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนตกทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ โรคใบขีดโปร่งแสง และโรคขอบใบแห้ง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้อาจทำให้บางพื้นที่มีน้ำขัง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เท้ากีบอาจเป็นโรคปากและเท้าเปื่อยได้ ซึ่งโรคดังกล่าวมักระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุก

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 15-17 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรยกพื้นคอกสัตว์ให้สูง ดูแลพื้นคอกไม่ให้ชื้นแฉะ หลังคาไม่รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรเตรียมพื้นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึงเอาไว้สำหรับอพยพสัตว์เลี้ยง และอาหารสัตว์ไว้ด้วย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 15-17 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • สำหรับพื้นที่เพาะปลูกที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • ส่วนชาวสวนผลไม้ระยะนี้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ถึงโคนต้น เพื่อลดความชื้นภายในบริเวณสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝนที่ดินมีความชื้นสูง หากพบควรรีบควบคุมโรคอย่าให้เชื้อโรคแพร่ขยายไปยังต้นอื่นๆ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 15-17 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตร

-ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคราสีชมพู เป็นต้น

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรหมั่นสังเกต เพราะอาจมีศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะเจาะ และกัดกินผล โดยเฉพาะผลที่อยู่ชิดกัน ผลที่อยู่เป็นกลุ่ม ทำให้ผลเสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 19-20 ส.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ระยะนี้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

-ส่วนชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคราสีชมพู เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ