พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 17 สิงหาคม 2558 - 23 สิงหาคม 2558

ข่าวทั่วไป Monday August 17, 2015 16:26 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 17 สิงหาคม 2558 - 23 สิงหาคม 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-19 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะนี้สภาพอากาศชื้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและศัตรูพืชต่างๆ เช่น โรคราสนิมในกาแฟ โรคผลเน่าในลำไย หนอนซึ่งจะกัดกินพืชผักชนิดต่างๆ
  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยง เช่น โคและกระบือ อยู่ในที่ชื้นแฉะเพื่อป้องกันการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-19 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำไหลบ่าเข้าในพื้นที่แปลงนาได้ ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหอยเชอรี่ ซึ่งจะลอยมากับน้ำและจะกัดกินทำให้ต้นข้าวเสียหายได้
  • ส่วนสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง จะเป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในข้าวนาปี เช่น โรคไหม้ โรคใบขีดโปร่งแสง และโรคขอบใบแห้ง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นข้าวชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนา หากพบควรรีบกำจัด

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 17-19 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 20-22 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะนี้ในบางพื้นที่ปริมาณฝนที่ตกยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืชโดยเฉพาะไม้ผล เช่น องุ่น และฝรั่ง เป็นต้น เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่ปลูกเพิ่มเติม รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 17-19 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม.

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาะปลูกซึ่งอยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคนต้นพืช
  • ส่วนชาวสวนผลไม้ระยะนี้ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ถึงโคนต้น เพื่อลดความชื้นภายในบริเวณสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝนที่ดินมีความชื้นสูง หากพบควรรีบกำจัด

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 17-19 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24- 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

-ในช่วงนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน รวมทั้งควรใช้สารป้องกันเชื้อราทาบริเวณหน้ากรีดยางเพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้หน้ากรีดยางเสียหายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 17-19 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม.

  • ระยะนี้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก พื้นที่ซึ่งมีฝนตกหนักติดต่อกัน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

-ในช่วงนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน รวมทั้งควรใช้สารป้องกันเชื้อราทาบริเวณหน้ากรีดยางเพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้หน้ากรีดยางเสียหายได้

-อนึ่ง ในช่งวันที่ 20-23 ส.ค. บริเวณทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือไว้ด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ