พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 11 กันยายน 2558 - 17 กันยายน 2558

ข่าวทั่วไป Friday September 11, 2015 17:10 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 11 กันยายน 2558 - 17 กันยายน 2558

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-13 และ 16-17 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนในช่วงวันที่ 14-15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงโดยเริ่มจากทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกและทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อน
  • สำหรับพื้นที่ซึ่งมีฝนตกในระยะที่ผ่านมา ทำให้วัชพืชเจริญเติบโตได้เร็ว เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชภายในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและปุ๋ยจากพืชที่ปลูก และไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 11-12 และ 16-17 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 13-15 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง โดยทางตอนบนของภาคจะมีปริมาณฝนลดลงก่อนบริเวณอื่น เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ในช่วงที่มีฝนตกหนัก อาจมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรกหากมีความจำเป็นควรสวมรองเท้าบูตทุกครั้งที่ต้องลุยน้ำ เพื่อป้องกันโรคฉี่หนู
  • ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันทำให้ความชื้นในดินและในอากาศสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ตลอดจนข้าวนาปี

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

-ในช่วงที่มีฝนตก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรหมั่นสังเกตโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เพราะอาจมี สัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ และแมงป่อง เป็นต้น เข้ามาอาศัยหลบซ่อนตัวบริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์และอาจทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้

-ในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกกล้วยไม้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคยอดเน่า โรคจุดสนิม และโรคแอนแทรกโนส เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ต้นกล้วยไม้เสียหาย ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 11-12 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

  • สำหรับในช่วงที่มีฝนตกทำให้ความชื้นในดินและในอากาศสูง ชาวสวนผลไม้ควรดูแลบริเวณโคนต้นพืชอย่าให้มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กองสุมอยู่ เพราะเชื้อโรคอาจลุกลามจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่เน่าเสียมาสู่ต้นพืชได้ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่ควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้มีน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้
  • ในช่วงวันที่ 11-17 ก.ย. บริเวณอ่อวไทยตอนบนจะมีคลื่นลมแรงชาวเรือและชาวประมงควร ระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 11-12 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งทะเลคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อนควรเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่ หากเก็บเกี่ยวได้แล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรปล่อยไว้ในสวน เพราะอาจเสียหาย เนื่องจากฝนที่ตกได้
  • ส่วนในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 13-17 ก.ย.บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและในช่วงวันที่ 15-17 ก.ย. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 11-12 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13-17 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • ในช่วงที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งเคยมีประวัติน้ำท่วมมาก่อนควรเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย
  • ส่วนในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกัน ชาวสวนยางพาราควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น
  • อนึ่ง ในช่วงวันที่ 13-17 ก.ย.บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและในช่วงวันที่ 15-17 ก.ย. เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ