พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่างวันที่ 02 ธันวาคม 2558 - 08 ธันวาคม 2558

ข่าวทั่วไป Wednesday December 2, 2015 15:30 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 02 ธันวาคม 2558 - 08 ธันวาคม 2558

ภาคเหนือ

*ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจายร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกได้บางแห่ง

*-ในช่วงวันที่ 3-8 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอย อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-10 องศาเซลเซียส

*ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณโดยทั่วไปมีค่าการคายระเหยน้ำของพืชมากกว่าฝนที่ตก โดยมีค่าอยู่ในช่วง 20 – 30 มม. ยกเว้นบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และพะเยา มีค่าอยู่ในช่วง 10 – 20 มม. ประกอบกับในช่วง 3-5 ธ.ค.จะมีฝนเพิ่มขึ้นทางตอนบนของภาค ซึ่งจะเป็นผลดีกับพืชที่ขาดน้ำในระยะที่ผ่านมา สำหรับผลผลิตที่แก่ดีแล้ว ควรรีบเก็บเกี่ยวเพื่อป้องกันความเสียหาย ส่วนทางตอนล่างของภาคยังคงมีฝนตกน้อย ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำในดินลดลงเรื่อยๆ จนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง พร้อมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน สงวนความชื้นภายในดิน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่

*ในช่วงวันที่ 3-8 ธ.ค อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส

  • ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาค่าการคายระเหยน้ำของพืชมากกว่าฝนที่ตก โดยเกือบทั่วทั้งภาคมีค่าอยู่ในช่วง 20 – 30 มม. ประกอบกับในช่วง 7 วันข้างหน้า แม้จะมีฝนตกแต่มีปริมาณน้อย ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำในดินลดลงเรื่อยๆ จนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นเกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง พร้อมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน สงวนความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

  • ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. จะ มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่
  • ในช่วงวันที่ 3-8 ธ.ค. มีอากาศเย็นในตอนเช้า ณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
  • ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณภาคกลาง ค่าการคายระเหยน้ำของพืชมากกว่าฝนที่ตกโดยมีค่าอยู่ในช่วง 20 – 30 มม. ประกอบกับในช่วง 7 วันข้างหน้า แม้จะมีฝนตกแต่มีปริมาณน้อย ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำในดินลดลงเรื่อยๆ จนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นเกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง

ภาคตะวันออก

  • ในช่วงวันที่ 2–3 ธ.ค. จะมีฝนบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ และในช่วงวันที่ 4-6 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่
  • ในช่วงวันที่ 2-3 ธ.ค. มีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 4-6 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
  • ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาค่าการคายระเหยน้ำของพืชมากกว่าฝนที่ตก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดสระแก้วโดยมีค่าอยู่ในช่วง 20 – 30 มม. ส่วนบริเวณอื่นๆ มีค่าอยู่ในช่วง 10 – 20 มม. ประกอบกับในช่วง 7 วันข้างหน้า แม้จะมีฝนตกแต่มีปริมาณน้อย ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำในดินลดลงเรื่อยๆ จนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นเกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

  • ในช่วงวันที่ 3-5 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-8 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
  • ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณที่มีค่าการคายระเหยน้ำของพืชมากกว่าฝนที่ตกได้แก่บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ โดยมีค่าอยู่ในช่วง 1 – 20 มม. ส่วนบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และนราธิวาส ค่าสมดุลน้ำมีค่ามากกว่า 150 มม. ประกอบกับในช่วง 7 วันข้างหน้า จะมีฝนที่ตกหนัก ซึ่งจะทำให้ดินมีความชื้นสูง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืช ทำให้รากขาดอากาศหายใจและเกิดโรครากเน่าและโคนเน่าได้ เกษตรกรในบริเวณดังกล่าวควรทำทางระบายน้ำ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชเนื่องจากปริมาณน้ำส่วนเกินนี้ด้วย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

  • มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง
  • อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส
  • ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณที่มีค่าการคายระเหยน้ำของพืชมากกว่าฝนที่ตกได้แก่บริเวณจังหวัดภูเก็ตและสตูล โดยมีค่าอยู่ในช่วง 1 – 10 มม. ส่วนบริเวณอื่นๆ ปริมาณฝนที่ตกมากค่าการคายระเหยน้ำ ประกอบกับในช่วง 7 วันข้างหน้า จะยังคงมีฝนที่ตกตลอดช่วง ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการเจริญเติบของพืช

หมายเหตุ สมดุลน้ำ คือ ปริมาณฝน – ปริมาณการคายระเหยน้ำของพืช, การคายระเหยน้ำ คือ น้ำระเหย + การคายน้ำของพืช

แผนที่สมดุลน้ำสามารถดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ http://www.arcims.tmd.go.th/DailyDATA/PET7day.php

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ