พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 มีนาคม 2559 - 10 มีนาคม 2559

ข่าวทั่วไป Friday March 4, 2016 13:27 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 มีนาคม 2559 - 10 มีนาคม 2559

ภาคเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 16-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม

  • ระยะนี้สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงในระหว่างวันโดยตอนเช้าอากาศเย็นส่วนกลางวันอากาศร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า สวนกาแฟที่อยู่ในระยะผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ชาวสวนควรระวังการระบาดของโรคราสนิม และโรคแอนแทรกโนส โดยหมั่นสำรวจแปลงปลูกหากพบการระบาดของโรค ควรรีบตัดกิ่ง ใบ และเก็บผลที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก รวมทั้งตัดแต่งกิ่ง ทรงพุ่มให้โปร่ง แสงแดดลอดผ่านได้ เพื่อระบายความชื้นในสวน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 16-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน อากาศจะเปลี่ยนแปลง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้าส่วนกลางวันอากาศร้อน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สำหรับสภาพอากาศร้อนและแห้งในตอนกลางวัน ทำให้น้ำระเหยไปจากดินและต้นพืชมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน รวมทังระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชทรุดโทรม โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งและไรแดงในมันสำปะหลัง
  • ส่วนเกษตรกรที่ต้องการเตียมพื้นที่เพราะปลูก ไม่ควรเผาตอซังข้าว เพราะไฟอาจจะลุกลามทำให้เกิดอัคคีภัยและไฟป่าได้ รวมทั้งควันไฟจากการเผาไหม้จะทำให้ทัศนวิสัยลดลง และเกิดเป็นมลพิษทางอากาศ

ภาคกลาง

อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส

  • สำหรับในตอนกลางวันจะมีอากาศร้อน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนผู้ที่ปลูกพืชไร่และผักชนิดต่างๆ ควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมและคลุมโคนต้นด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยน้ำจากดิน รวมทั้งระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อนในถั่วเขียว และพริก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชเสียหาย

ภาคตะวันออก

อากาศเย็นกับหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5-9 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

  • สำหรับสภาพอากาศร้อนและแห้งในตอนกลางวัน ทำให้น้ำระเหยจากดินและพืชได้มาก ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอเพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลร่วงหล่น และแคระแกร็นไม่ได้ขนาด และกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากต้นพืช รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยไฟในมังคุด เพลี้ยไก่แจ้และไรแดงในทุเรียน ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะนี้ แม้จะมีฝน แต่ปริมาณและการกระจายของฝน ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่กำลังเจริญเติบโตเพิ่มเติม หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากต้นพืช รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวก ปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตและแคระแกร็น
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ดอกและผลอ่อนร่วงหล่น และการติดผลลดลง รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะนี้ แม้จะมีฝน แต่ปริมาณและการกระจายของฝน ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชที่กำลังเจริญเติบโตเพิ่มเติม หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากต้นพืช รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวก ปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตและแคระแกร็น
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ดอกและผลอ่อนร่วงหล่น และการติดผลลดลง รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ