พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 07 มีนาคม 2559 - 13 มีนาคม 2559

ข่าวทั่วไป Monday March 7, 2016 15:36 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 07 มีนาคม 2559 - 13 มีนาคม 2559

ภาคเหนือ

มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ตลอดช่วง ทางตอนบนของภาค อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาค มีเมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม. /ชม

  • ระยะนี้อุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หากร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เช่น ลิ้นจี่และลำไย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • ส่วนในตอนเช้าอาจมีหมอกในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่และพืชผัก โดยเฉพาะโรคราน้ำค้าง ซึ่งมักระบาดในช่วงที่มีหมอกและน้ำค้าง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 มี.ค. อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ในระยะแรก กับมีลมกระโชกแรง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม.

  • ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะควันไฟอาจเป็นอุปสรรคต่อการสัญจร และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะกับสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้สมดุลกับปริมาณน้ำ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันอย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ส่วนในช่วงวันที่ 10-12 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว ไม่ควรปล่อยไว้กลางแจ้ง เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 8-10 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงอุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • เนื่องจากปริมาณฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ และใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆครั้ง และให้น้ำในช่วงเย็น เพื่อลดการสูญเสียน้ำเนื่องจากการระเหย รวมทั้งคลุมดินและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาความชื้นภายในดิน
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส

  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 8-11 มี.ค. มีเมฆบางส่วน ส่วนในช่วงวันที่ 12-13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ต้นอ่อนอาจตายได้
  • เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ระยะนี้ปริมาณการระเหยของน้ำมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดิน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น
  • เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่และพืชสวน ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ต้นอ่อนอาจตายได้
  • เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ระยะนี้ปริมาณการระเหยของน้ำมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช และโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดิน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ