พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 16 พฤษภาคม 2559 - 22 พฤษภาคม 2559

ข่าวทั่วไป Monday May 16, 2016 14:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 16 พฤษภาคม 2559 - 22 พฤษภาคม 2559

ภาคเหนือ

อากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม

  • ระยะนี้บางพื้นที่จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง
  • สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม เมื่อมีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูก แต่ควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี เพื่อป้องกันโรคพืชในช่วงฤดูฝน
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัว ไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศร้อนโดยทั่วไป ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ฝนที่ตกในระยะนี้จะช่วยคลายความร้อนอบอ้าวลงไปได้บ้าง แต่เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการรองรับน้ำฝนแรกมาบริโภคแต่ควรนำไปใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากน้ำฝนจะชะล้างสิ่งสกปรกบนหลังคา และฝุ่นละอองในอากาศลงมาด้วย
  • เนื่องจากระยะนี้บางช่วงจะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง และปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง
  • สำหรับ เกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้ควรคลุกเมล็ดพันธ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักจะเกิดในช่วงฤดูฝน และไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไปหากเป็นไปได้ควรหันหัวแปลงปลูกตามทิศทางลม เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ภาคกลาง

มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 พ.ค. จะมีฝนตกหนักและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • ระยะนี้บางช่วงจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง
  • สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้ง ขณะฝนฟ้าคะนอง รวมทั้งควรดูแลโรงเรือนให้มีความมั่นคงแข็งแรง หลังคาโรงเรือนอย่าให้มีรอยรั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเปียกฝนจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอหรือดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำของพืช

ภาคตะวันออก

มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 พ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ระยะนี้บางช่วงจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสียและร่วงหล่น รวมทั้งเปลือกผลไม้กองอยู่ในบริเวณสวน แต่ควรนำไปกำจัดให้ถูกวิธี โดยเผาหรือฝังให้ลึก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม และเตรียมพื้นที่เพาะปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี เมื่อดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ค. อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียสตั้งแต่ จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่ จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝนของทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก
  • สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อนทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ดอกและผลอ่อนร่วงหล่น การติดผลลดลง
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรค ได้ง่าย
  • สำหรับในช่วงวันที่ 18-22 พ.ค.คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 16-18 พ.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19-22 พ.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 25-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส

  • ระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝนของทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก
  • ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรค ได้ง่าย
  • สำหรับในช่วงวันที่ 18-22 พ.ค.คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ