พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 03 มิถุนายน 2559 - 09 มิถุนายน 2559

ข่าวทั่วไป Friday June 3, 2016 14:37 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 03 มิถุนายน 2559 - 09 มิถุนายน 2559

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบน และด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศจะมีความชื้นสูง เหมาะแก่การเกิดโรคพืชจำพวกเชื้อรา เกษตรกรที่จะปลูกพืชรอบใหม่ ควรคลุกเมล็ดพันธุ์และชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และไม่ควรปลูกพืชแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสะสมภายในแปลงปลูกเป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ระยะนี้แม้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น แต่บางพื้นที่ยังมีฝนตกไม่สม่ำเสมอชาวนาที่เตรียมดินไว้ปลูกข้าวนาปี ควรชะลอการปลูกข้าวไว้ก่อน รอจนกว่าจะมีปริมาณฝนตกสม่ำเสมอค่อยลงมือปลูก หากปลูกในระยะนี้อาจจะเสี่ยงต่อการขาดน้ำระยะต้นกล้าและแตกกอ
  • สำหรับบริเวณที่มีฝนตกหนัก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร รวมทั้งวางแผนการจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในระยะที่มีฝนตกน้อย หรือฝนทิ้งช่วง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 3 - 4 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในวันที่ 5 - 9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งมีฝนตกและดินมีความชื้นเพียงพอ เกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชได้ และควรชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารป้องกันเชื้อรา และไม่ควรปลูกแน่นจนเกินไป เพื่อลดความชื้นสะสมภายในแปลงปลูก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมักระบาดในช่วงฤดูฝน

*ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวกรวมทั้งซ่อมแซมหลังคาอย่าให้รั่วซึม และทำแผงกำบังฝนสาดให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดกับสัตว์เลี้ยงในช่วงฤดูฝน เช่นโรคคอบวม และปากเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่บางพื้นที่ยังมีฝนตกไม่สม่ำเสมอ ชาวนาที่เตรียมดินไว้ปลูกข้าวนาปี ควรชะลอการปลูกข้าวไว้ก่อน รอจนกว่าจะมีปริมาณฝนตกสม่ำเสมอค่อยลงมือปลูก หากปลูกในระยะนี้อาจจะเสี่ยงต่อการขาดน้ำระยะต้นกล้าและแตกกอ
  • สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้จะทำให้อากาศมีความชื้นสูงส่งผลต่อสัตว์เลี้ยง เจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะโรคหวัด ในสัตว์ปีก และโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์กีบคู่ เกษตรกรควรดูแลโรงเรือนให้โปร่ง อย่าให้อับชื้น เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หากพบสัตว์ป่วย ควรรีบให้การรักษา

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ช่วงนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศ มีความชื้นสูง ซึ่งจะส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสัตว์ปีกอาจเจ็บป่วยเป็นหวัดได้ เกษตรกรควรหมั่นดูแล หากพบสัตว์ป่วย ควรรีบให้การรักษา

*สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น เงาะ ทุเรียน และลองกอง เป็นต้น เกษตรกรควรเก็บกวาดผลที่เน่าเสียและร่วงหล่น ตลอดจนเปลือกผลไม้ไปกำจัด ไม่ควรปล่อยให้อยู่ภายในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืชโดยเฉพาะโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 3 - 7 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในวันที่ 8 – 9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ระยะที่ผ่านมามีฝนตกหนักถึงหนักมาก และยังคงมีฝนตกต่อเนื่องโดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของภาค อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีฝนหนัก
  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชสวน ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราแป้งในเงาะโรคราสีชมพู ในยางพารา และโรคใบจุดสนิมในกาแฟ เป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรค เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆรวมทั้งระวังการระบาดของศัครูพืชจำพวกหนอน เช่นหนอนเจาะผลทุเรียน หนอนเจาะกินใต้ผิวเปลือกในลองกอง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 3 - 6 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 7 – 9 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ระยะที่ผ่านมามีฝนตกหนักถึงหนักมาก และยังคงมีฝนตกต่อเนื่องโดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของภาค อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกพืชให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก เมื่อมีฝนหนัก
  • สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชสวน ควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวนป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราแป้งในเงาะโรคราสีชมพู ในยางพารา และโรคใบจุดสนิมในกาแฟ เป็นต้น หากพบโรคดังกล่าวควรรีบควบคุมโรค เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆรวมทั้งระวังการระบาดของศัครูพืชจำพวกหนอน เช่นหนอนเจาะผลทุเรียน หนอนเจาะกินใต้ผิวเปลือกในลองกอง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ