พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 13 มิถุนายน 2559 - 19 มิถุนายน 2559

ข่าวทั่วไป Monday June 13, 2016 15:07 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 13 มิถุนายน 2559 - 19 มิถุนายน 2559

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 15-18 มิ.ย. และมีฝนตกหนักบางพื้นที่โดยเฉพาะด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ส้มเขียวหวาน ควรระวังและป้องกันหนอนชอนใบ โรคแคงเกอร์
  • ลิ้นจี่ เก็บผลแล้ว ควรตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย
  • กุหลาบ ควรระวังและป้องกันการระบาดของ โรคใบจุด หนอนกินใบ
  • ลำไย (ผลเจริญเติบโต) ควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนเจาะขั้วผลและมวนลำไย
  • มะขามหวาน(ติดฝัก) ควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนเจาะฝัก โรคราสีชมพู โรคราแป้ง
  • กาแฟ ควรระวังและป้องกัน โรคราสนิม หนอน เจาะลำต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 16-17 มิ.ย. มีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • มะนาว ควรระวังและป้องกันโรคแคงเกอร์
  • มันสำปะหลัง ควรระวังและป้องกันโรคหัวเน่า โคนเน่า
  • ดาวเรือง ควรระวังและป้องกันหนอนชอนใบ และหนอนกระทู้
  • มะม่วง ควรระวังและป้องกันโรคแอนแทรคโนส แมลงวันผลไม้

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • กล้วยไม้ ควรระวังและป้องกันโรคราสนิม โรคยอดเน่า หนอนกระทู้
  • ดาวเรือง ควรระวังและป้องกันหนอนชอนใบ หนอนกระทู้
  • ส้มโอ ไรสนิม ไรขาว หนอนเจาะผล
  • องุ่น(ติดผล)ควรระวังและป้องกันการระบาดเหนอนกระทู้หอม โรคราสนิม
  • มะนาว ควรระวังป้องกันโรคแคงเกอร์ ส้มโอ ควรระวังและป้องกันไรสนิม ไรขาว หนอนเจาะผล เบญจมาศ ระวังป้องกันโรคใบจุด หนอนชอนใบ

ภาคตะวันออก ในวันที่ 13–17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-19 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส

  • สละ ควรระวังและป้องกันโรคใบจุด โรคยอดเน่า
  • ทุเรียน(เก็บเกี่ยวผลผลิต) ควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนเจาะผล หนอนเจาะลำต้นทุเรียน โรครากเน่า-โคนเน่า
  • ลองกอง (เก็บเกี่ยวผลผลิต)ควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนกินใต้ผิวเปลือก
  • พริกไทย ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรครากเน่า
  • เงาะ(เก็บเกี่ยวผลผลิต) ควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนเจาะขั้วผล โรคผลเน่า

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส

  • ลองกอง ควรระวังและป้องกัน โรคราดำ ตัดแต่งช่อดอกและผล
  • ทุเรียน ให้น้ำอย่างเพียงพอ ตัดแต่งช่อดอกและผลอ่อน ระวังหนอนเจาะผล
  • มะพร้าว (ทุกระยะการเจริญเติบโต) ควรระวังและป้องกันการระบาดของแมลงดำหนาม
  • เงาะ(ผลเจริญเติบโต) ควรระวังและป้องกันการระบาดของหนอนเจาะขั้วผล
  • ยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราสีชมพูและโรคเส้นดำ
  • กาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราสนิม
  • ปาล์มน้ำมัน ควรระวัง หนอนหน้าแมว ด้วงแรด

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) ในช่วงวันที่ 13-16 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในวันที่ 17-19 มิ.ย.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 14-19 มิ.ย. ทะเลอันดามันตอนบน : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่าง : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

  • ยางพาราควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราสีชมพูและโรคเส้นดำ
  • กาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราสนิม
  • ปาล์มน้ำมัน ควรระวัง หนอนหน้าแมว ด้วงแรด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ