พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 06 กรกฎาคม 2559 - 12 กรกฎาคม 2559

ข่าวทั่วไป Wednesday July 6, 2016 14:20 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 06 กรกฎาคม 2559 - 12 กรกฎาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 6-8 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 9-12 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี(กล้า-แตกกอ) สภาพอากาศชื้นสูง : โรคไหม้ หนอนกระทู้กล้า
  • พืชไร่ สภาพอากาศชื้นสูง : โรคราน้ำค้าง โรคใบไหม้ โรคราสนิม
  • สัตว์เท้ากีบอาจมีน้ำท่วมขัง : โรคปากเท้าเปื่อย ไม่ควรปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน
  • กาแฟ สภาพอากาศชื้นสูง : โรคราสนิม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 6-7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-12 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี(กล้า-แตกกอ)สภาพอากาศชื้นสูง : โรคไหม้ หนอนกระทู้กล้า , มีฝนตกหนัก : หอยเชอรี่
  • พืชผักชนิดต่างๆ สภาพอากาศชื้นสูง : หนอนเจาะผล แอนแทรคโนส รากเน่าโคนเน่า

สัตว์เท้ากีบอาจมีน้ำท่วมขัง : โรคปากเท้าเปื่อย ไม่ควรปล่อยให้สัตว์อยู่ในที่ชื้นแฉะ

  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ)มีฝนตกหนัก : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และใช่วงวันที่ 8-12 ก.ค.จะมีฝนตกหนักบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 6-7 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี(กล้า-แตกกอ)สภาพอากาศชื้นสูง : โรคไหม้ หนอนกระทู้กล้า
  • สัตว์ปีกมีฝนตกและลมแรง : ดูแลโรงเรือนอย่าให้มีฝนสาด และให้อากาศถ่ายเท เพื่อป้องกันสัตว์ป่วย
  • ไม้ดอกชนิดต่างๆสภาพอากาศชื้นสูง : โรคจุดสนิม โรคแอนแทรกโนส หนอนกินใบ

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 8-12 ก.ค.มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 6-7 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (แตกใบอ่อน)สภาพอากาศชื้นสูง :หนอนกินใบ หนอนเจาะลำต้น โรครากเน่าโคนเน่า
  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) มีฝนตกหนัก : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน
  • สัตว์น้ำ (ประมงชายฝั่ง) คลื่นลมมีกำลังแรง :ในช่วงวันที่ 8-10 ก.ค. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากสภาวะคลื่นลมที่มีกำลังแรงขึ้น ส่วนชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 6-7 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-12 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผลสภาพอากาศชื้นสูง : หนอนเจาะผล โรครากเน่าโคนเน่า มีฝนตกหนัก : ทำระบบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง
  • ยางพาราสภาพอากาศชื้นสูง : โรครากขาว โรคราสีชมพู โรคเส้นดำ
  • กาแฟ สภาพอากาศชื้นสูง : โรคราสนิม

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 8-12 ก.ค.มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผลสภาพอากาศชื้นสูง : หนอนเจาะผล โรครากเน่าโคนเน่า มีฝนตกหนัก : ทำระบบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง
  • ยางพาราสภาพอากาศชื้นสูง : โรครากขาว โรคราสีชมพู โรคเส้นดำ
  • กาแฟ สภาพอากาศชื้นสูง : โรคราสนิม
  • สัตว์น้ำ (ประมงชายฝั่ง)คลื่นลมมีกำลังแรง : ในช่วงวันที่ 8-12 ก.ค. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหายจากสภาวะคลื่นลมที่มีกำลังแรงขึ้น ส่วนชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ