พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 15 กรกฎาคม 2559 - 21 กรกฎาคม 2559

ข่าวทั่วไป Friday July 15, 2016 14:52 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 15 กรกฎาคม 2559 - 21 กรกฎาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี : สภาพอากาศมีความชื้นสูงระวังโรคไหม้ ส่วนเกษตรกรที่เริ่มทำนาไม่ควรหว่านกล้าแน่นเกินไป
  • สัตว์เลี้ยง : สุกรและ สัตว์ปีก สภาพอากาศมีความชื้น ระวังโรคไข้หวัดสุกรและไข้หวัดนก ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่งให้อากาศถ่ายเท และพื้นคอกอย่าให้ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์ป่วย
  • ไม้ผล สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 18-20 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี : สภาพอากาศมีความชื้นสูงระวังโรคไหม้
  • มันสำปะหลัง ดินมีความชื้นสูง : โรคหัวเน่าโคนเน่า
  • สัตว์เลี้ยง (สัตว์กีบ) : ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน ระวังโรคปากและเท้าเปื่อย
  • เกษตรกร : สวมรองเท้าบูทขณะย่ำน้ำสกปรก (ป้องกันโรคฉี่หนู)

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 18-21 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • ข้าว : ระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน และโรคไหม้
  • สัตว์เลี้ยง : สุกรและ สัตว์ปีก สภาพอากาศมีความชื้น ระวังโรคไข้หวัดสุกรและไข้หวัดนก ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่งให้อากาศถ่ายเท และพื้นคอกอย่าให้ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์ป่วย
  • ไม้ดอก และไม้ประดับ : สภาพอากาศชื้นสูง ระวังโรคที่เกิดจากเชื้อรา และศัตรูพืชจำพวกหนอน

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 18- 20 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (แตกใบอ่อน) : สภาพอากาศและดินมีความชื้นสูง ระวังป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า รวมทั้งการระบาดของหนอนกินใบ และหนอนเจาะลำต้น
  • สัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง : ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนไหลลงบ่อ เปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก
  • พริกไทย : ดินมีความชื้นสูง ควรระวังโรครากเน่า

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 18- 20 ก.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล : ระยะเจริญเติบโตทางผล ระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน ตัดผลที่มีโรคและศัตรูพืชทำลาย และระวังโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า
  • กาแฟ : สภาพอากาศชื้นสูงระวังโรคราสนิม
  • ยางพารา : สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูงระวังป้องกันโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรครากขาว โรคราสีชมพู โรคเส้นดำ
  • ปาล์มน้ำมัน : โรคยอดเน่า

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) ในช่วงวันที่ 15-17 ก.ค.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 18- 20 ก.ค.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล : ระยะเจริญเติบโตทางผล ระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน ตัดผลที่มีโรคและศัตรูพืชทำลาย และระวังโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า
  • กาแฟ : สภาพอากาศชื้นสูงระวังโรคราสนิม
  • ยางพารา : สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูงระวังป้องกันโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรครากขาว โรคราสีชมพู โรคเส้นดำ
  • ปาล์มน้ำมัน : โรคยอดเน่า

หมายเหตุhttp://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

-http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/MonthRain.php

ปริมาณฝนสะสมเดือนกรกฎาคม ฝนที่ตกสะสมในเดือนนี้ส่วนมากอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางและภาคใต้ฝั่งตะวันออก เช่นบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ พัทลุง สงขลา ยะลา และนราธิวาส ยังคงมีฝนน้อย

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยในภาคเหนือมีรายงานปริมาณฝนสูงสุดที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกบริเวณจังหวัดตราด และในภาคใต้บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช

ศักย์การคายระเหยน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณที่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสูงสุดจะอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค โดยมีค่าอยู่ในช่วง 30-35 มม.

สมดุลน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งปริมาณฝนที่ตกมีค่ามากกว่าปริมาณน้ำที่ระเหยจากดินและการคายน้ำของพืช ทำให้ในหลายพื้นที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก ยกเว้นบริเวณภาคเหนือตอนบนและตอนกลาง บริเวณตอนบนและด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ฝั่งตะวันออกทั้งตอนบนและตอนล่าง ซึ่งมีสมดุลน้ำเป็นลบ

คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีฝนตกโดยเฉพาะในภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนบริเวณอื่นมีฝนตกน้อย และในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีโอกาสเกิดฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออกเฉียงตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนบริเวณอื่นๆมีโอกาสเกิดฝนตกได้แต่ปริมาณอาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม และให้น้ำอย่างประหยัด เช่น ให้น้ำเฉพาะบริเวณทรงพุ่ม หรือวิธีน้ำหยด รวมทั้งกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากต้นพืช โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผล ร่วงหล่น และแคระแกร็น ผลผลิตลดลง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ