พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 03 สิงหาคม 2559 - 09 สิงหาคม 2559

ข่าวทั่วไป Wednesday August 3, 2016 14:27 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 03 สิงหาคม 2559 - 09 สิงหาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • กาแฟ ดินและอากาศมีความชื้นสูง : โรคราสนิม และโรคใบจุด
  • ลำไย (เก็บเกี่ยว) ดินและอากาศมีความชื้น : โรครากเน่าโคนเน่า และผีเสื้อมวนหวาน รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้ผลที่เน่าเสีย ร่วงหล่นกองอยู่ในสวน
  • ไม้ดอก เนื่องจากสภาพอากาศมีความชื้น : ควรระวังป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม โรคดอกเน่า

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 3-6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี อากาศมีความชื้น : โรคไหม้ เริ่มต้นเพาะปลูก : ไม่ควรหว่านกล้าแน่นเกินไป และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
  • มันสำปะหลัง อากาศมีความชื้น : โรคใบไหม้ และโรคแอนแทรกโนส
  • พืชไร่ ดินและอากาศมีความชื้น :ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราน้ำค้างในข้าวโพด โรคแส้ดำในอ้อย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 4-6 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าว อากาศมีความชื้น : ศัตรูพืชจำพวกหนอน และโรคไหม้
  • กล้วยไม้ สภาพอากาศชื้น : โรคจุดสนิม โรคเน่าดำ และโรคยอดเน่า
  • สัตว์เลี้ยง อากาศมีความชื้น : ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นคอกให้สะอาดอย่าให้ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์ป่วย

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 4-6 ส.ค. ในช่วงวันที่ 3-7 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (แตกใบอ่อน) สภาพดินและอากาศมีความชื้น :โรครากเน่าโคนเน่า หนอนกินใบ และหนอนเจาะลำต้น
  • พริกไทย ดินมีความชื้นสูง :โรครากเน่า โคนเน่า
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง :ในช่วงวันที่ 3 - 7 ส.ค. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนบนควรระวังความเสียหายจากสภาวะคลื่นลมที่มีกำลังแรงขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 4 – 6 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว) ดินและอากาศมีความชื้น : โรครากเน่าโคนเน่า หนอนเจาะผลในทุเรียน หนอนเจาะขั้วผลในเงาะ และหนอนชอนเปลือกในลองกอง
  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) มีฝนตกหนัก : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง :ในช่วงวันที่3 - 7 ส.ค. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนควรระวังความเสียหายจากสภาวะคลื่นลมที่มีกำลังแรงขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 4 – 6 ส.ค. ในช่วงวันที่ 3-4 และ 7-9 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 ส.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล (ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว) ดินและอากาศมีความชื้น : โรครากเน่าโคนเน่า หนอนเจาะผลในทุเรียน หนอนเจาะขั้วผลในเงาะ และหนอนชอนเปลือกในลองกอง
  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) มีฝนตกหนัก : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง :ในช่วงวันที่3 - 7 ส.ค. ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนควรระวังความเสียหายจากสภาวะคลื่นลมที่มีกำลังแรงขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ