พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 12 สิงหาคม 2559 - 18 สิงหาคม 2559

ข่าวทั่วไป Monday August 15, 2016 14:17 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 12 สิงหาคม 2559 - 18 สิงหาคม 2559

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 13-16 ส.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี สภาพอากาศมีความชื้นสูง : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ โรคใบหงิก และศัตรูพืช เช่น หนอนห่อใบข้าว
  • กาแฟ ดินและอากาศมีความชื้นสูง : โรคราสนิม และโรคใบจุด
  • พืชผัก สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูง : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าคอดิน โรคเน่าดำ และโรคเน่าเละ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 12-15 ส.ค. จะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี สภาพอากาศมีความชื้นสูง : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และศัตรูพืช เช่น หนอนห่อใบข้าว
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกหนัก : ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • มันสำปะหลัง อากาศมีความชื้น : โรคใบไหม้ และโรคแอนแทรกโนส

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • ข้าว ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรค ได้ง่าย
  • สัตว์ปีก สภาพอากาศชื้น : ดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเท เพื่อลดความชื้นป้องกันสัตว์ป่วย

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 13-17 ส.ค. จะมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ยางพารา สภาพอากาศมีความชื้นสูง :โรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ โรคราสีชมพู และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น
  • สัตว์ปีก อากาศมีความชื้น : ดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเท เพื่อลดความชื้นป้องกันสัตว์ป่วย
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนบนควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 13-16 ส.ค. มีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูง :เกษตรกรระวังโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า และระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกินใบ และหนอนชอนใบ
  • ยางพารา สภาพอากาศมีความชื้นสูง :โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคเส้นดำ เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือตลอดช่วง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 13-17 ส.ค. จะมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล สภาพดินและอากาศมีความชื้นสูง : เกษตรกรระวังโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า และระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกินใบ และหนอนชอนใบ
  • ยางพารา สภาพอากาศมีความชื้นสูง : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคเส้นดำ เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือตลอดช่วง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ