พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 17 สิงหาคม 2559 - 23 สิงหาคม 2559

ข่าวทั่วไป Wednesday August 17, 2016 14:25 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 17 สิงหาคม 2559 - 23 สิงหาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 18-20 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 19-20 ส.ค. ส่วนในช่วงวันที่ 22 -23 ส.ค.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ไม้ผล ที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยว เช่น ลำไย เกษตรกรควร เก็บกวาดผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียไปกำจัดไม่ควรกองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อรา มักระบาดในช่วงที่มีความชื้นสูง
  • ข้าวนาปี ระวังป้องกันโรคไหม้ และหอยเชอรี่ที่ลอยมากับน้ำ โดยใช้ตาข่ายดักจับบริเวณทางน้ำไหลเข้านาและจับไปทำลาย
  • เกษตรกรพื้นที่ซึ่งมีน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังป้องกันโรคตาแดง น้ำกัดเท้า และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 18-19 ส.ค. มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากทางตะวันออกและตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ
  • ข้าวนาปี ระวังป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และศัตรูพืชจำพวกหนอน
  • เกษตรกร ควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำที่สกปรกหากมีความจำเป็นต้องลุยน้ำควรสวมรองเท้าบูท เพื่อป้องกันโรค ฉี่หนู

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส

  • พืชสวน ควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต
  • พื้นที่การเกษตร พื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในพื้นที่เพาะปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก
  • สัตว์เลี้ยง ดูแลพื้นคอกอย่าให้ชื้นแฉะ หลังคาไม่รั่วซึมป้องกันสัตว์เปียกชื้นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ระวังป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น รวมทั้ง เก็บกวาดวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ยางพารา ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนบนควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงด ออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ระวังป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผลควรค้ำยันและผูกยึดกิ่งให้มีความมั่นคงแข็งแรง
  • ยางพารา ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตก เฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 4 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส

  • ยางพารา ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันควรระวังป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง

หมายเหตุ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/MonthRain.php

  • ปริมาณฝนสะสมเดือนสิงหาคม (1 – 16) ฝนสะสมในช่วงนี้ส่วนใหญ่มากกว่า 50 มม. เว้นแต่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคตะวันออกมีฝนสะสมเกิน 100 มม.ส่วนบริเวณตอนล่างของภาคเหนือ ตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนล่างด้านตะวันตกของภาคกลาง มีฝนน้อยกว่า 25 มม.
  • ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา พื้นที่ซึ่งมีฝนสะสม 100-300 มม.อยู่บริเวณด้านตะวันตกของประเทศไทยตอนบน และบริเวณตอนบนและด้านตะวันออกของภาคเหนือและด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งบางพื้นที่ของภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนบริเวณอื่นๆมีฝน40-70 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางด้านตะวันออกและตอนล่างด้านตะวันตก รวมทั้งภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีฝน 1-20 มม.
  • ศักย์การคายระเหยน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25 – 30 มม. เป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และบางพื้นที่ของภาคตะวันออก มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 30 – 35 มม.
  • สมดุลน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาพื้นที่ซึ่งมีสมดุลน้ำ 100-200 มม.อยู่บริเวณด้านตะวันตกของประเทศไทยตอนบน และบริเวณตอนบนและด้านตะวันออกของภาคเหนือและด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งบางพื้นที่ของภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนบริเวณอื่นๆมีฝน1-70 มม. เว้นแต่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางด้านตะวันออกและตอนล่างด้านตะวันตก รวมทั้งภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีฝน (-1)-(-30) มม.
  • คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้สมดุลน้ำมีค่าเป็นบวกในหลายพื้นที่ และในช่วง 7 วันข้างหน้ายังคงมีฝนตก กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตแต่ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ