พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 26 สิงหาคม 2559 - 01 กันยายน 2559

ข่าวทั่วไป Friday August 26, 2016 14:36 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 26 สิงหาคม 2559 - 01 กันยายน 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 26-30 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 31 ส.ค. -1 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ลำไย (เก็บเกี่ยวผลผลิต) ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : เกษตรกรควรรีบตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาพักตัวได้นาน รวมทั้งเก็บกวาดผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียไปกำจัด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  • พืชผัก ฝนตกต่อเนื่อง ดินและอากาศมีความชื้นสูง : ดูแลระบบ ระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ป้องกันน้ำท่วมขัง และ ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าคอดิน โรคเน่าดำ
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่ง หลังคาอย่าให้รั่วซึม พื้นคอกไม่ให้ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์ป่วย โดยเฉพาะโรคหวัดในสัตว์ปีก และสุกร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 26-30 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 31 ส.ค. -1 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ระวังป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และศัตรูพืชจำพวกหนอน
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่อง : ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ
  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) ฝนตกหนัก : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ ทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์อ่อนแอเป็นโรค และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 26-30 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 31 ส.ค. -1 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-37 องศาเซลเซียส

  • ข้าวนาปี บริเวณที่มีฝนตกน้อย : ศัตรูพืช เช่น หนอนกอ หนอนห่อใบข้าว และเพลี้ยชนิดต่างๆ
  • พืชผัก บริเวณที่มีฝนตกน้อย : ศัตรูพืช เช่น หนอนใยผัก ด้วงหมัดในพืชตระกูลกะหล่ำ – ผักกาด และเพลี้ยไฟ ในพืชตะกูลแตง เป็นต้น
  • อ้อย บริเวณที่มีฝนตกน้อย : ศัตรูพืช เช่น ตั๊กแตนโลกัสต้า ด้วงหนวดยาว แมลงนูนหลวง และหนอนกอ เป็นต้น

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 26-30 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 31 ส.ค. -1 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โรคผลเน่าในสละและแก้วมังกร เป็นต้น
  • พริกไทย อากาศชื้น : ระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่า โรครากขาว และ โรคแอนแทรกโนส
  • สัตว์น้ำ (ในบ่อ) ฝนตกหนัก : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ ทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์อ่อนแอเป็นโรค และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำ เพิ่มออกซิเจน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล บริเวณที่มีฝนตกน้อย : ศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟในชมพู่ หนอนเจาะผลในทุเรียน เพลี้ยจักจั่นและด้วงชนิดต่างๆในมะม่วง เพลี้ยไฟในมังคุด เป็นต้น
  • กาแฟ บริเวณที่มีฝนตกน้อย : ศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะลำต้น เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 26-30 ส.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 31 ส.ค. -1 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส

  • ยางพารา อากาศชื้น : ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากขาว โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ