พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 16 กันยายน 2559 - 22 กันยายน 2559

ข่าวทั่วไป Friday September 16, 2016 14:43 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 16 กันยายน 2559 - 22 กันยายน 2559

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 19-21 ก.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และศัตรูต้นข้าวจำพวกหอยเชอรี่
  • พืชผัก ฝนตกต่อเนื่อง ดินและอากาศมีความชื้นสูง : ดูแลระบบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ป้องกันน้ำท่วมขัง และระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเน่าคอดิน โรคเน่าดำ และโรคเน่าเละ
  • สัตว์เลี้ยง (ปลาในกระชัง) ฝนตกต่อเนื่องหลายวัน : ตะกอนแขวนลอยซึ่งเกิดจากการชะดินของน้ำฝน ตะกอนจะฟุ้งกระจาย ซึ่งสร้างปัญหาเกี่ยวกับเหงือกสัตว์น้ำในการแลกเปลี่ยนออกซิเจน สัตว์น้ำจะกินอาหารลดลง เครียด และตาย ได้ เกษตรกรควรพิจารณาการให้อาหารปลา โดยลดปริมาณอาหารให้น้อยลง หรืองดอาหารในวันที่ฝนตกหนัก รวมทั้งเปิดเครื่องตีน้ำช่วยเพิ่มออกซิเจน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 16-18 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 19-21 ก.ย.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักบางแห่ง ทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาลและโรคขอบใบแห้ง
  • พืชไร่ ฝนตกต่อเนื่อง ดินและอากาศมีความชื้นสูง : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในข้าวโพด โรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง และโรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่องหลายวัน : เกิดน้ำท่วมขังบางพื้นที่ทำให้พืชอาหารสัตว์ตาย ส่งผลให้สัตว์ขาดแคลนอาหาร สัตว์จะอ่อนแอยิ่งขึ้น ดังนั้นเกษตรกรจึงควรเตรียมเสบียงพืชอาหารสัตว์ ไว้ให้พร้อมยามฉุกเฉินและหากพบเห็นสัตว์ป่วยควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 16-18 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 19-21 ก.ย.มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล และศัตรูต้นข้าว จำพวกหอยเชอรี่
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่ง หลังคาโรงเรือนอย่าให้รั่วซึม และพื้นคอกไม่ให้ชื้นแฉะ ป้องกันสัตว์เปียกชื้น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ไม้ดอก ดินและอากาศชื้น : เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคเน่าดำ โรคใบจุด ในกล้วยไม้ โรคราสนิม โรคใบจุดในกุหลาบ เป็นต้น

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 20 - 22 ก.ย. มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ควรดูแลโรงเรือนให้โปร่ง และพื้นคอกไม่ให้ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้น อ่อนแอ และเป็นโรค โดยเฉพาะโรคหวัดในสัตว์ปีก
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนบนควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณ อ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 21 ก.ย.นี้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง มีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ดินและอากาศชื้น : ไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่ง และใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาพักตัวได้นานขึ้น และเก็บกวาดผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียไปกำจัดไม่ควรกองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ยางพารา อากาศชื้น : ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามัน ควรงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 21 ก.ย.นี้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง มีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ดินและอากาศชื้น : ไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่ง และใส่ปุ๋ย เพื่อให้ต้นฟื้นตัวได้เร็ว มีเวลาพักตัวได้นานขึ้น และเก็บกวาดผลที่ร่วงหล่นเน่าเสียไปกำจัดไม่ควรกองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช
  • ยางพารา อากาศชื้น : ดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคราสีชมพู และโรคเส้นดำ เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง คลื่นลมมีกำลังแรง: ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามัน ควรงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 21 ก.ย.นี้

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในระยะ 7 วันข้างหน้า

  • ปริมาณฝนสะสมเดือนกันยายน (วันที่ 1-15 ก.ย.) บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกชุก โดยวัดปริมาณฝนสะสมได้ 100-300 มม. ส่วนบางพื้นที่ของภาคกลาง ภาคตะวันออกตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตกน้อย โดยมีปริมาณฝนสะสมต่ำกว่า 50 มม.
  • ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนหนักบางพื้นที่ วัดปริมาณฝนสะสมได้ 100-300 มม. ส่วนบริเวณอื่นๆ มีฝนตกแต่ปริมาณไม่มาก มีฝนสะสม 20-100 มม. เว้นแต่บางพื้นที่ของภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตกสะสมน้อยกว่า 20 มม.
  • ศักย์การคายระเหยน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-25 มม. ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกตอนบน และภาคใต้ตอนล่าง มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงกว่าบริเวณอื่น โดยมีค่าอยู่ในช่วง 25-30 มม.
  • สมดุลน้ำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออตอนล่าง และภาคใต้ฝั่งตะวันตกสมดุลน้ำมีค่าเป็นบวก โดยมีค่าอยู่ในช่วง 100-300 มม. ส่วนบางพื้นที่ของภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตกน้อย มีค่าสมดุลน้ำอยู่ระหว่าง (-1) ถึง (-30) มม.
  • คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ทำให้ค่าสมดุลน้ำส่วนใหญ่มีค่าเป็นบวก และในช่วง 7 วันข้างหน้ายังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้น สำหรับพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่มบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก อาจเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรต่อเนื่องยาวนานขึ้น ดังนั้นควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูกนาน ทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ