พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 03 ตุลาคม 2559 - 09 ตุลาคม 2559

ข่าวทั่วไป Monday October 3, 2016 15:06 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 03 ตุลาคม 2559 - 09 ตุลาคม 2559

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 4–7 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ไม้ผล เนื่องจากดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคแอนแทรกโนสเป็นต้น นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากไม้ผลที่ปลูก และเป็นการตัดวงจรชีวิตของโรคและศัตรูพืชบางชนิด
  • พื้นที่การเกษตร พื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม หากมีต้นไม้ล้มเอนควรผูกยึดให้ตั้งตรง ถ้ามีบาดแผลควรตัดแต่งแผลและทำความสะอาด แล้วทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา
  • สัตว์เลี้ยง ดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก พื้นคอกไม่ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์เปียกชื้น หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4–7 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าว เนื่องจากสภาพอากาศที่ชื้น เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคไหม้ ซึ่งจะทำให้ต้นข้าวเสียหายผลผลิตลดลง
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ
  • สัตว์น้ำ (ในกระชัง) เนื่องจาก ตะกอนแขวนลอยและระดับน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน เครียด อ่อนแอ กินอาหารได้น้อย และ เป็นโรคได้ง่าย เกษตรกรควรลดปริมาณอาหาร หากโตได้ขนาดควรรีบจับขายไปก่อนบางส่วน เพื่อลดความเสี่ยง

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 5-6 ต.ค. มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก เป็นเวลานาน ทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรควรหมั่นสำรวจ เพราะอาจมีสัตว์มีพิษ เข้ามาอาศัยหลบซ่อนตัวในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์และทำร้ายสัตว์เลี้ยงได้ หากพบควรรีบจัดการให้ออกไปจากโรงเรือน
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อ ให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกันป้องกันน้ำแยกชั้น

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 4–9 ต.ค. มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 3-6 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ในช่วงวันที่ 7–9 ต.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ฝนตกชุก พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งจะเป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • ไม้ผล ความชื้นในดินและในอากาศสูง ชาวสวนควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคใบติดในทุเรียน เป็นต้น
  • สัตว์น้ำ (ชายฝั่ง) ระยะนี้ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หากสัตว์น้ำโตได้ขนาดควรจับขายไปก่อนบางส่วน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 3-6 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตรในช่วงวันที่ 7–9 ต.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ไม้ผลที่อยู่ในระยะเก็บเกี่ยว เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้เปลือก และผลที่เน่าเสียกองอยู่ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช
  • กาแฟ ฝนตกต่อเนื่อง อากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 6–9 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 3-6 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรในช่วงวันที่ 7–9 ต.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • กาแฟ (ฝั่งตะวันตก) ฝนตกต่อเนื่อง อากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • กาแฟ ฝนตกต่อเนื่อง อากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนกาแฟควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม โดยดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา -ประมงชายฝั่ง (ฝั่งอันดามัน) ระยะนี้ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หากสัตว์น้ำโตได้ขนาดควรจับขายไปก่อนบางส่วน ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม (วันที่ 1-2 ตุลาคม) เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีฝนตกชุก ซึ่งทำให้ในเดือนที่ผ่านมามีปริมาณฝนสะสมมีค่าเป็นบวกส่วนใหญ่ สำหรับเดือนนี้บริเวณที่มีฝนสะสมอยู่ระหว่าง 25-100 มม. อยู่ที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนบริเวณอื่นๆมีฝนสะสมต่ำกว่า 25 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา สัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมอยู่ระหว่าง 20-100 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางด้วนตะวันตก ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีปริมาณสะสมเกิน 100 มม. ส่วนภาคเหนือตอนบนด้านตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่า 20 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ ระยะที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมอยู่ระหว่าง20-30 มม.เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง มีค่าศักย์ระเหยน้ำสะสมอยู่ระหว่าง 30-35 มม.

สมดุลน้ำ ช่วงที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำส่วนใหญ่เป็นบวก โดยมีค่าสมดุลย์น้ำอยู่ระหว่าง 1-100 มม.เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีปริมาณสะสมเกินกว่า 100 มม. ส่วนภาคเหนือตอนบนด้สนตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีค่าศักย์สมดุลน้ำเป็นลบ

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้ค่าสมดุลย์น้ำเป็นบวกและในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีฝนเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต สำหรับพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อฝนตกหนัก เนื่องจากฝนที่ตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูงเกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผักซึ่งทำให้พืชเสียหายผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ