พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 05 ตุลาคม 2559 - 11 ตุลาคม 2559

ข่าวทั่วไป Wednesday October 5, 2016 14:55 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 05 ตุลาคม 2559 - 11 ตุลาคม 2559

ภาคเหนือ

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้นสูง : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล และศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่
  • พื้นที่การเกษตร ฝนตกต่อเนื่อง : พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกอย่าปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศหายใจ เน่า และตายได้
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ควรดูแลโรงเรือนและพื้นคอกให้สะอาดและแห้ง หลังคาไม่ให้รั่วซึม เพื่อป้องกันสัตว์เจ็บป่วย รวมทั้งควรฉีดวัคซีนป้องกันโรค เช่น โรคคอบวม โรคปากและเท้าเปื่อย เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 5–7 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าว ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเช่น โรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล และศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่
  • พื้นที่การเกษตร ฝนตกต่อเนื่อง : พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออก อย่าปล่อยให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศหายใจ เน่า และตายได้
  • ปลาในกระชัง ฝนตกต่อเนื่อง : ตะกอนแขวนลอยและระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน กินอาหารลดลง เครียด อ่อนแอ และน๊อกน้ำตายได้ เกษตรกรควรลดปริมาณอาหารให้น้อยลง และหลังฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อ ให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกันป้องกันน้ำแยกชั้น

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 5-9 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก เป็นเวลานานเพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้
  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้น : ควรระวังป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และโรคใบจุดสีน้ำตาล เป็นต้น
  • สัตว์น้ำ ฝนตกหนัก : เสริมขอบบ่อไม่ให้น้ำฝนไหลลงบ่อ ป้องกันไม่ให้สภาพน้ำเปลี่ยน ทำให้สัตว์อ่อนแอเป็นโรค และเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อเพิ่มออกซิเจน

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ในช่วงวันที่ 8–11 ต.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มี ฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ฝนตกชุก พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขัง ซึ่งจะเป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
  • พืชไร่ สภาพอากาศชื้นสูง : ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น หัวเน่า-โคนเน่าในมันสำปะหลังและโรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น
  • ยางพารา ฝนตกต่อเนื่อง :ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วงในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร ในช่วงวันที่ 8–11 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ฝนตกต่อเนื่อง อากาศมีความชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า และศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกินใบ และหนอนชอนใบ เป็นต้น
  • ยางพารา ฝนที่ตกติดต่อกัน: ระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรค ใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง (ฝั่งอันดามัน) ช่วงวันที่ 8–10 ต.ค ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 5–8 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 8–11 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ฝนตกต่อเนื่อง อากาศมีความชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา เช่นโรครากเน่าโคนเน่า และศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกินใบ และหนอนชอนใบ เป็นต้น
  • ยางพารา ฝนที่ตกติดต่อกัน: ระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรค ใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น
  • ประมงชายฝั่ง (ฝั่งอันดามัน) ช่วงวันที่ 8–10 ต.ค ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

รายงานสถานการณ์สมดุลย์น้ำใน 7 วันที่ผ่านมาและการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในวันที่ 5-11 ตุลาคม 2559

ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม (1-4) บริเวณด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่า 50 มม. สำหรับพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีปริมาณฝนสะสม 50-100 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ 20-100 มม. เว้นแต่บริเวณที่ฝนตกหนักมากซึ่งได้แก่บริเวณ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง บางพื้นที่ของภาคกลางภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่งมีปริมาณฝนสะสมมากกว่า 100 มม. ส่วนบางพื้นที่ได้แก่ บริเวณจังหวัด น่าน เพชรบรูณ์ เลย หนองคาย ชัยภูมิ นครรราชสีมา สระแก้ว พัทลุง ยะลา และสตูล มีฝนสะสมต่ำกว่า 10 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ : ในช่วง7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีศักย์การคายระเหยน้ำสะสมตั้งแต่ 20-30 มม. ส่วนภาคใต้มีศักย์การคายระเหยน้ำสะสมตั้งแต่ 20-35 มม.

สมดุลน้ำ : ในช่วง7 วันที่ผ่านมามีฝนกับฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้ในหลายพื้นที่มีค่าสมดุลย์น้ำเป็นบวก แต่บางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกน้อยนระยะที่ผ่านมาค่าสมดุลย์น้ำยังคงเป็นลบ เช่น บริเวณจังหวัดน่าน เลย หนองคาย ชัยภูมิ นครราชสืมา พัทลุง ยะลา และสตุล

คำแนะนำ : ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาแม้มีฝนกับฝนตกหนักหลายพื้นที่ ทำให้ในหลายพื้นที่มีค่าสมดุลย์น้ำเป็นบวก แต่บางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกน้อยทำให้ค่าสมดุลย์น้ำยังคงเป็นลบ และในช่วง 7 วันข้างหน้าจะยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง แต่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนบริเวณฝนจะน้อยกว่าระยะที่ผ่านมา เกษตรกรปลูกพืช เช่น ข้าวนาปี พืชไร่ และผักชนิดต่างๆควรดูแลให้น้ำอก่พืชเพิ่มเติมตามความเหาะสม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโตและจะกระทบต่อผลผลิตในระยะต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ