พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 07 ตุลาคม 2559 - 13 ตุลาคม 2559

ข่าวทั่วไป Friday October 7, 2016 15:41 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 07 ตุลาคม 2559 - 13 ตุลาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 7-10 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 11-13 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่าง ของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พืชผัก อากาศชื้นสูง : ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้าง โรคเน่าเละ และโรค เน่าดำ เป็นต้น
  • ไม้ผลอากาศชื้นสูง : ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้าง โรคเน่าเละ และโรค เน่าดำ เป็นต้น
  • พืชไร่อากาศชื้นสูง : ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมในข้าวโพด โรคราน้ำค้างในพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 7-8 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 9-13 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าวอากาศชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคไหม้ และโรคใบจุดสีน้ำตาล เป็นต้น
  • พืชไร่อากาศชื้นสูง : ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมและโรคราน้ำค้าง ในข้าวโพด โรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น
  • สัตว์เลี้ยงฝนตกต่อเนื่อง : ควรระวังป้องกันการระบาดของโรค เช่น โรคคอบวมในโค-กระบือ โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบคู่ เช่น สุกร เป็นต้น

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 11-13 ต.ค. มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พืชผักอากาศและดินชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคเน่าคอดิน และโรคราน้ำค้าง เป็นต้น
  • ข้าวนาปีฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และโรคใบจุดสีน้ำตาล เป็นต้น
  • ไม้ผลอากาศชื้นสูง : ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและศัตรูพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในส้มเขียวหวาน และผีเสื้อมวนหวานในส้มโอ เป็นต้น

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 11-13 ต.ค. มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 8–12 ต.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผลฝนตกต่อเนื่อง ความชื้นสูง : ควรระวังป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า และศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกินใบ และหนอนชอนใบ เป็นต้น
  • ยางพาราฝนตกต่อเนื่อง ความชื้นสูง :ควรระวังป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 8–12 ต.ค.ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผลฝนตกต่อเนื่อง อากาศมีความชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โรคผลเน่าในเงาะและทุเรียน เป็นต้น
  • ยางพาราฝนตกติดต่อกัน: ระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 8–12 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผลฝนตกต่อเนื่อง อากาศมีความชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โรคผลเน่าในเงาะและทุเรียน เป็นต้น
  • ยางพาราฝนตกติดต่อกัน: ระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตรในวันที่ 7-13 ตุลาคม 2559

ปริมาณฝนสะสมเดือน ตุลาคม (วันที่ 1-6 ต.ค.)ที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องจากเดือนกันยายน ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนตกสะสมอยู่ระหว่าง 50-100 มม. ซึ่งมีฝนสะสมสุงสุดบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกประมาณ 100-300 มม.ส่วนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีปริมาณฝนสะสม ต่ำกว่า 25 มม.เป็นส่วนมาก

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนสะสมมากว่า 40 มม. ส่วนภาตใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีฝนสะสมน้อยกว่า 40 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ ระยะที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยส่วนใหญ่มีค่าน้ำสะสม อยู่ระหว่าง 20-30 มม. เว้นแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมมากว่าบริเวณอื่น โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 30-35 มม.

สมดุล ระยะที่ผ่านมาค่าสมดุลน้ำส่วนใหญ่เป็นบวก โดยมีค่าสมดุลที่เป็นบวกมากอยู่เป็นบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีค่าสมดุลเกิน 70 มม. เว้นแต่บางพื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างมีค่าสมดุลเป็นลบอยู่ระหว่าง (-10)ถึง(-30) มม.

คำแนะนำ ในช่วง7วันที่ผ่านมามีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวกในหลายพื้นที่ ส่วนบางพื้นที่มีค่าสมดุลย์น้ำเป็นลบโดยเฉพาะภาคตะวันออกตอนล่าง และในช่วง7วันข้างหน้า ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต สำหรับพื้นที่การเกษตรในที่ลุ่ม เกษตรกรบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ควรดูแลระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ ป้องกันน้ำท่วมขังเวลามีฝนตกหนัก เนื่องจากฝนตกที่ตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา ในพืชไร่ ไม้ผลและพืชผักเอาไว้ด้วย ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างที่มีค่าสมดุลย์น้ำเป็นลบ เกษตรกรควรพิจารณาให้น้ำเพิ่มเติม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ