พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 14 ตุลาคม 2559 - 20 ตุลาคม 2559

ข่าวทั่วไป Friday October 14, 2016 14:35 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 14 ตุลาคม 2559 - 20 ตุลาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 14-17 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 18-20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พืชผัก อากาศชื้นสูง : ทางตอนบนของภาค ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้าง โรคเน่าเละ และโรคเน่าดำ เป็นต้น
  • พื้นที่การเกษตร พื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม ถ้าต้นไม้มีบาดแผลควรตัดแต่งแผลและทำความสะอาด แล้วทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา
  • ข้าว อากาศชื้นสูง : พื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคไหม้ และโรคใบจุดสีน้ำตาล เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 14-16 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก บางแห่ง ในช่วงวันที่ 17-20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ข้าว อากาศชื้นสูง : พื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง ระวังโรคพืชที่เกิดจาก เชื้อรา เช่นโรคไหม้ และโรคใบจุดสีน้ำตาล เป็นต้น
  • พืชไร่ อากาศชื้นสูง : ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมและโรคราน้ำค้าง ในข้าวโพด โรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่อง : ควรระวังป้องกันการระบาดของโรค เช่น โรคคอบวมในโค-กระบือ โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์กีบคู่ เช่น สุกร เป็นต้น

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 14-17 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก บางแห่ง ในช่วงวันที่ 18-20 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม : เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ พืชสวน และพืชผัก ควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูกเป็นเวลานาน ทำให้รากพืชขาดอากาศต้นพืชตายได้
  • ข้าวนาปี ฝนตกต่อเนื่อง อากาศชื้นสูง : พื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคไหม้ และโรคใบจุดสีน้ำตาล เป็นต้น
  • ไม้ผล อากาศชื้นสูง : ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและศัตรูพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในส้มเขียวหวาน และผีเสื้อมวนหวานในส้มโอ เป็นต้น

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 18-20 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเล มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • พืชไร่ สภาพอากาศชื้นสูง : ควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น หัวเน่า-โคนเน่าในมันสำปะหลังและโรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น
  • ยางพารา ฝนตกต่อเนื่อง ความชื้นสูง :ควรระวังป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเส้นดำ และโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยในช่วงวันที่ 18-20 ต.ค. มีฝนตกหนัก บางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ฝนตกต่อเนื่อง อากาศมีความชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โรคผลเน่าในเงาะและทุเรียน เป็นต้น
  • ยางพารา ฝนตกติดต่อกัน: ระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น
  • กาแฟ สภาพอากาศมีความชื้นสูง : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โรคราสนิม โรคใบจุด เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเล มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล ฝนตกต่อเนื่อง อากาศมีความชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน โรคผลเน่าในเงาะและทุเรียน เป็นต้น
  • ยางพารา ฝนตกติดต่อกัน: ระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น
  • กาแฟ สภาพอากาศมีความชื้นสูง : โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โรคราสนิม โรคใบจุด เป็นต้น

หมายเหตุสำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตรในวันที่ 14-20 ตุลาคม 2559

ปริมาณฝนสะสมเดือน ตุลาคม (วันที่ 1 -13) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีปริมาณฝนตกสะสม 50-100 มม. ส่วนบริเวณด้านตะวันออกของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่า 50 มม. และบริเวณที่มีปริมาณฝนสะสมมากกว่า 100 มม. ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ตราด และพังงา

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตก ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ 20-100 มม.เว้นแต่บริเวณฝนตกหนักมากซี่งได้แก่บริเวณภาคตะวันออกตอนล่าง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งมีปริมาณฝนสะสม> 100 มม. ส่วนบางพื้นที่ในภคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนกลางของภาคกลางและบางพื้นที่ของภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนสะสมต่ำกว่า 10 มม

ศักย์การคายระเหยน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมอยู่ตั้งแต่ 20-25 มม. เว้นแต่ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบนและภาคใต้ตอนล่างมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมอยู่ตั้งแต่ 25-30 มม.

สมดุล ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ทำให้ในหลายพื้นที่มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก แต่บางพื้นที่ที่ซึ่งมีนตกน้อยในระยะที่ผ่านมาค่าสมดุลน้ำเป็นลบ เช่น บริเวรจังหวัดน่าน ตาก พิษณุโลก เพชรบรูณ์ เลย หนองคาย ขอนแก่น สกลนคร นครพนม กาฬสินธ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี สุรินทร์ ศรีสะเกษ สุพรรณบุรี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี นครนายก นครศรีธรรมราช พัทลุงและ ยะลา

คำแนะนำ ในช่วง7วันที่ผ่านมาแม้มีฝนตก ทำให้มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก แต่หลายพื้นที่ประเทศไทยตอนบนซึงมีฝนตกน้อย ทำให้ค่าสมดุลน้ำยังคงเป็นลบ และในช่วง 7 วันข้างหน้าปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีแก่พืชโดยเฉพาะในบริเวณฝนตกน้อยในระยะที่ผ่านมา ส่วนบางพื้นที่น้ำท่วมขัง เกษตรกรควรรีบระบายน้ำจากพื้นที่การเกษตร อย่าให้มีน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพื่อป้องกันการระบาดโรครากเน่าและโคนเน่า

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ