พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 28 ตุลาคม 2559 - 03 พฤศจิกายน 2559

ข่าวทั่วไป Friday October 28, 2016 16:01 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 28 ตุลาคม 2559 - 03 พฤศจิกายน 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 28 ต.ค.- 1 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. มีอากาศเย็นในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศา อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงโดยมีอากาศเย็น สลับกับฝนตกบางวัน ผู้เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคควรป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์ เช่น โรคคอบวมในโค-กระบือ และโรคหวัดในสัตว์ปีก และควรจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับกันหนาวและเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์เอาไว้ให้พร้อม
  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ทางตอนบนของภาคเริ่มมีอากาศเย็น ปริมาณฝนจะลดลง แต่ดินยังคงมีความชื้น เกษตรกรทีเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว สามารถที่จะปลูกพืชรอบใหม่ แต่ควรจะเป็นพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย และปลูกได้ดีในสภาพอากาศเย็น เช่น มันฝรั่ง หอมหัวใหญ่ และพืชผักเมืองหนาว เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 28 -31 ต.ค. มีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง ในช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง ผู้เลี้ยงสัตว์ทางตอนบนของภาค ควรป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์โดยเฉพาะโรคคอบวม ในโค-กระบือ และโรคหวัดในสัตว์ปีก ควรจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับกันหนาวและเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ ไว้ให้พร้อม
  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ทางตอนบนของภาคเริ่มมีอากาศเย็น ปริมาณฝนจะลดลง แต่ดินยังคงมีความชื้น เกษตรกรทีเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว สามารถที่จะปลูกพืชรอบใหม่ แต่ควรจะเป็นพืชอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ใช้น้ำน้อย และปลูกได้ดีในสภาพอากาศเย็น เช่น มันฝรั่ง หอมหัวใหญ่ และพืชผักเมืองหนาว เป็นต้น

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 28 ต.ค.-1 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศา อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ระยะนี้ปริมาณฝนลดลง เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวข้าวไปแล้วและต้องการที่จะปลูกข้าวรอบใหม่ควรอยู่ในเขตชลประทาน หากอยู่นอกเขตชลประทานควรเปลี่ยนไปปลูกพืชอายุสั้น และใช้น้ำน้อยแทน
  • พืชผัก แม้ระยะนี้ปริมาณฝนจะลดลง แต่สภาพอากาศยังคงมีความชื้นสูงโดยเฉพาะในตอนเช้า เกษตรกรที่ปลูกผักควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและศัตรูพืช เช่น โรคราน้ำค้าง และหนอนใยผัก เป็นต้น

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 28 ต.ค.-1 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร พื้นที่ทางตอนบนของภาคเกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ยางพารา ระยะนี้ทางตอนล่างของภาคยังคงมีฝนตกหนัก ชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า และโรคหน้ากรีดยาง เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 29-30 ต.ค. ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผล ช่วงนี้จะมีฝนตกชุก อากาศมีความชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน และโรคใบจุดในมังคุด เป็นต้น ชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  • ชาวเรือและชาว ประมง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 29-30 ต.ค. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผล ช่วงนี้จะมีฝนตกชุก อากาศมีความชื้นสูง : ระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน และโรคใบจุดในมังคุด เป็นต้น ชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  • ชาวเรือและชาว ประมง บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม(1-27) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยยังคงมีปริมาณฝนตกสะสม 100-300 ม. ยกเว้นบางพื้นที่จังหวัดสกลนครมีปริมาณฝนสะสม 25-50 มม. ส่วนบริเวณที่มีฝนสะสมมากกว่า 300 มม. ได้แก่ บริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนตกเกือบทั่วไป ส่วนใหญ่มีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่า 40 มม. เว้นแต่บางพื้นที่บริเวณจังหวัดพะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ หนองคาย นครสวรรค์ กาญจนบุรี ราชบุรี กรุงเทพมหานครและปรมณฑล ที่มีฝนสะสม 40-100 มม. ส่วนบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนัก ซึ่งปริมาณฝนสะสม >100 มม..

ศักย์การคายระเหยน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมตั่งแต่ 20-30 มม.

สมดุลน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีฝนตกหนักบางพื้นที่ ทำให้บางพื้นประเทศไทยตอนบนและภาคใต้มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวกส่วนมาก แต่บางพื้นที่ฝนตกน้อยนระยะที่ผ่านมาค่าสมดุลน้ำยังเป็นลบ เช่น บริเวรภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตกและตะวันออกของภาค และบางพื้นที่ของภาคกลาง

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาแม้มีฝนตกหนัก ทำให้มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวกหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน ซึ่งมีฝนตกน้อยทำให้ค่าสมดุลน้ำยังคงเป็นลบ และในช่วง7 วันข้างหน้า ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางจะปริมาณฝนลดลง เกษตรกรปลูกพืช เช่น ไม้ผล พืชไร่ และผักชนิดต่างๆ ควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโตซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตในระยะต่อไป ส่วนภาคตะวันออกและภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืช แต่พื้นที่ลุ่มบริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด ระยอง ระนอง พังงา กระบี่และสุราษฎร์ธานี ควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณแปลงปลูกเมื่อมีฝนตกหนัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ