พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 31 ตุลาคม 2559 - 06 พฤศจิกายน 2559

ข่าวทั่วไป Monday October 31, 2016 15:26 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 31 ตุลาคม 2559 - 06 พฤศจิกายน 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 31 ต.ค.- 2 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิจะลดลง 1-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 พ.ย. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง และเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อม
  • สัตว์ลี้ยง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนและแผงสำหรับกันลมหนาวเอาไว้ให้พร้อม โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กเนื่องจากยังมีร่างกายที่อ่อนแอ
  • พื้นที่การเกษตร เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ยังคงทำได้ เนื่องจากความชื้นภายในดินยังคงมีอยู่ แต่ควรมีน้ำสำรองไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโต โดยเฉพาะในระยะผลิดอกออกผล เป็นช่วงที่พืชต้องการน้ำมากกว่าระยะอื่นๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 31 ต.ค.-2 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 31 ต.ค.-2 พ.ย. และในช่วงวันที่ 5-6 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ทางตอนล่างของภาค และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 31 ต.ค.-2 พ.ย.และในช่วงวันที่ 5-6 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 5-7 พ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3-4 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 2-3 พ.ย. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งโดยเฉพาะในช่วงวันที่ 5-7 พ.ย. ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส

ปริมาณฝนสะสมเดือนตุลาคม(1-30) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมีปริมาณฝนตกสะสม 50-300 ม. ส่วนบริเวณที่มีปริมาณฝนสะสมมากกว่า 300 มม. ได้แก่ บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันออก

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา พื้นที่ส่วนใหย่ของประเทศไทยมีปริมาณฝนตกสะสม 20-100 มม. ส่วนบริเวณที่มีปริมาณฝนสะสมมากกว่า 100 มม. ได้แก่ บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันนออกตอนบน และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนพื้นที่ซึ่งมีปริมาณฝนสะสมน้อยกว่า 20 มม. คือบริเวณถาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกและตะวันตก

ศักย์การคายระเหยน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยตอนบนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมตั่งแต่ 15.-30 มม. โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกจะมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมสูงสุด

สมดุลน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย มีสมดุลน้ำสะสม 1-100 มม. ส่วนบริเวณที่มีปริมาณสมดุลน้ำสะสมมากกว่า100 มม. ได้แก่ บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่วนพื้นที่ซึ่งมีปริมาณฝนสะสมน้อยนกว่า 20 มม. คือบริเวณภาคเหนือด้านตะวันออกภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันออกและตะวันตก

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีค่าสมดุลน้ำเป็นบวกเป็นส่วนใหย่และในระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้งเกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ในด้านเกษตรและวางแผนใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ช่วงฝนตกน้อย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล พืชผักและข้าวนาปี เป็นต้น ซึ่งศัครูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้พืชเสียหาย ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ