พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 23 พฤศจิกายน 2559 - 29 พฤศจิกายน 2559

ข่าวทั่วไป Wednesday November 23, 2016 15:41 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 23 พฤศจิกายน 2559 - 29 พฤศจิกายน 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 พ.ย. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ทางตอนบนอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ทางตอนล่างอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตทางการเกษตร ระยะนี้มีแดดจัดเกษตรกรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแดดควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้เกรียม และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ไม้ผล สำหรับเกษตรกรที่ปลูกลิ้นจี่และลำไย ในระยะนี้ควรกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นให้โล่งเตียน เพื่อให้ดินแห้ง เมื่ออากาศมีความหนาวเย็นยาวนานเพียงพอจะกระตุ้นให้พืชออกดอกได้ดี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียสบริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ชนิดต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรุพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตลดลง
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยจะเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 25-29 พ.ย. อากาศเย็นกับหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหมั่นสังเกตหากพบสัตว์ป่วยควรรีบแยกออกจากกลุ่มและทำการรักษา เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ไปยังตัวอื่นๆ และเกษตรกรเองควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วยตลอดจนสารคัดหลั่งจากสัตว์ หากมีความจำเป็นต้องสัมผัสควรสวมถุงมือยางทุกครั้ง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 25-29 พ.ย. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับทางตอนบนของภาค สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชเสียหายผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ
  • พื้นที่การเกษตร สำหรับทางตอนล่างของภาค เนื่องจากระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
  • ไม้ผล ระยะนี้แม้ปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงกว่าระยะที่ผ่านมา แต่ความชื้นในดินยังคงมีอยู่ ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งจะทำให้รากและโคนต้นพืชเสียหาย และต้นพืชตายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ย. ทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 26-29 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ เป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุมดังกล่าวจะมีปริมาณและการกระจายของ ฝนมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ไม้ผล ไม้ผลที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น และทาแผลรอยตัดด้วยสารป้องกันเชื้อรา และไม้ควรกองสุมวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รวมทั้งเปลือกและผลที่เน่าเสียไว้ในบริเวณสวน เพราะจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและศัตรูพืช

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 23-24 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 25-29 พ.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกเนื่องจากฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ได้หมดไปแล้วทำให้ปริมาณและการกระจายของฝนในบริเวณดังกล่าวลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตรในวันที่ 23 - 29 พฤศจิกายน 2559

ปริมาณฝนสะสมเดือน พฤศจิกายน (1-22) บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนตกสะสมน้อยกว่า 10-100 มม. เป็นส่วนใหญ่ บริเวณที่มีปริมาณฝนสะสม 100-200 มม. ได้แก่ จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี และขอนแก่น สำหรับบริเวณภาคใต้มีปริมาณฝนตกสะสม 50-200 มม. เป็นส่วนใหญ่บริเวญที่มีปริมาณฝนตกสะสม 200-400 มม.ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลาและตรัง

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนตกสะสมน้อยกว่า 40 มม.เป็นส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่ ส่วนบริเวณที่มีปริมาณฝนสะสม 40-70 มม. ได้แก่จังหวัดจันทบุรี สำหรับบริเวณภาคใต้มีปริมาณฝนตกสะสม 10-70 มม. เป็นส่วนใหญ่ ส่วนบริเวณที่มีบริเวณที่มีปริมาณฝนสะสม 70-100 มม. ได้แก่ บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างเป็นส่วนใหญ่.

ศักย์การคายระเหยน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 20-30 มม. เป็นส่วนใหญ่

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณสมดุลน้ำสะสมเป็น(10)-(-30) มม.เป็นส่วนใหญ่ บริเวณที่มีปริมาณสะสม 10-40 มม.ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี สำหรับริเวณภาคใต้มีปริมารสมดุลน้ำสะสม (-20)-(40) มม.เป็นส่วนใหญ่ ส่วนบริเวณที่มีปริมาณสมดุลน้ำสะสม 40-150 มม. ได้แก่ บริเวณภาคใต้ตอนล่าง

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านประเทศไทยตอนบนมีฝนตกน้อยทำให้สมดุลน้ำเป็นลบเป็นส่วนใหญ่ ส่วนภาคใต้มีค่าสมดุลน้ำเป็นบวกเป็นส่วนใหญ่ และในช่วง 7 วันข้างปริมาณฝนจะลดลง โดยเฉพาะบริเวณบริเวณประเทศไทยตอนบน เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่างจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ สำหรับภาคใต้ ปริมาณและการกระจายฝนจะเพิ่มมากขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ