พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 07 พฤศจิกายน 2559 - 13 พฤศจิกายน 2559

ข่าวทั่วไป Monday November 7, 2016 15:40 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 07 พฤศจิกายน 2559 - 13 พฤศจิกายน 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่หลังจากนั้นอากาศจะเย็นลง อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตทางการเกษตรในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. จะมีฝนตกร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งในช่วงดังกล่าว เพื่อป้องกันผลผลิตเปียกชื้นเสียหาย
  • เกษตรกรในช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงโดยจะมีฝนตก ในระยะแรกต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงทำให้มีอากาศเย็น ในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อม
  • ผลผลิตทางการเกษตรในช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคควรป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์ เช่น โรคคอบวมในโค-กระบือ และโรคหวัดในสัตว์ปีก และควรหมั่นสังเกต หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28- 31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก เฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. จะมีฝนตกร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งในช่วงดังกล่าว เพื่อป้องกันผลผลิตเปียกชื้นเสียหาย
  • เกษตรกร ในช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงโดยจะมีฝนตกในระยะแรกต่อจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงและมีลมแรง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับกันหนาวเอาไว้ให้พร้อม
  • เสตว์เลี้ยง ในช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคควรป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์ เช่น โรคคอบวมในโค-กระบือ และโรคหวัดในสัตว์ปีก และควรหมั่นสังเกต หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 พ.ย. มีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตทางการเกษตรในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. จะมีฝนตกร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งในช่วงดังกล่าว เพื่อป้องกันผลผลิตเปียกชื้นเสียหาย
  • สัตว์เลี้ยง ในช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์ เช่น โรคคอบวมในโค-กระบือ และโรคหวัดในสัตว์ปีก และควรหมั่นสังเกต หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง หลังจากนั้นอากาศจะเย็นลง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 9-13 พ.ย. อากาศเย็นและหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. จะมีฝนตกร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งในช่วงดังกล่าว เพื่อป้องกันผลผลิตเปียกชื้นเสียหาย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. ลมตะวันออก เฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรบริเวณทางฝั่งตะวันออกของภาคจะมีฝนตกต่อเนื่องและจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก บางแห่งในช่วง 7-10 พ.ย. ส่วนทางฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกชุกในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. ต่อจากนั้นฝนจะลดลง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • กาแฟระยะนี้อากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมโรครากขาว และโรคแอนแทรกโนส เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน
  • ชาวเรือและชาวประมงวันที่ 7- 10 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหาย ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในวันที่ 11-13 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรบริเวณทางฝั่งตะวันออกของภาคจะมีฝนตกต่อเนื่องและจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก บางแห่งในช่วง 7-10 พ.ย. ส่วนทางฝั่งตะวันตกจะมีฝนตกชุกในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. ต่อจากนั้นฝนจะลดลง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • กาแฟระยะนี้อากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมโรครากขาว และโรคแอนแทรกโนส เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน
  • ชาวเรือและชาวประมงวันที่ 7- 10 พ.ย. บริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังความเสียหาย ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตรในวันที่ 7 - 13 พฤศจิกายน 2559

ปริมาณฝนสะสมเดือน พฤศจิกายน (1-6) บริเวณประเทศไทยตอนบนปริมาณและการแพร่กระจายของฝนลดลงกว่าที่ผ่านมา โดยมี ปริมาณฝนตกสะสมต่ำกว่า 50 มม. ส่วนภาคใต้มีปริมาณฝนสะสม 10-100 มม. เป็นส่วนใหญ่

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณประเทศไทยตอนนมีปริมาณฝนตกสะสมต่ำกว่า 40 มม. ส่วนภาตใต้มีปริมาณฝนสะสม 20-150 มม. เป็นส่วนใหย่ เว้นแต่บริเวณทางตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนสะสมเกิน 150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมอยู่ 20-30 มม. โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือด้สนตะวันออกมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมน้ำมากกว่าบริเวณอื่น

สมดุลน้ำ บริเวณประเทศไทยตอนบนมีปริมาณสมดุลน้ำสะสมต่ำกว่า (20)-(30) มม.ส่วนภาคใต้มีปริมาณสมดุลน้ำสะสมเกิน 1-150 มม.เป็นส่วนใหญ่เว้นแต่บริเวณทางตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนสะสมเกิน 150 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านประเทศไทยตอนบนมีปริมาณฝนลดลงโดยเฉพาะในภาคเหนือแลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณฝนสะสมน้อนกว่าค่าปริมาณน้ำที่สูญเสียโดยการคายน้ำของพืชและน้ำระเหยและในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีฝน เกษตรกร ควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ด้านเกษตร เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบดต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ