พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 พฤศจิกายน 2559 - 10 พฤศจิกายน 2559

ข่าวทั่วไป Friday November 4, 2016 15:32 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 พฤศจิกายน 2559 - 10 พฤศจิกายน 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-6 พ.ย. มีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศา เซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ หลังจากนั้นอากาศจะเย็นลง อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงโดยมีอากาศเย็นในตอนเช้า สลับกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับ กันหนาวเอาไว้ให้พร้อม
  • สัตว์เลี้ยง สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ผู้เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคควรป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์ เช่น โรคคอบวมในโค-กระบือ และโรคหวัดในสัตว์ปีก และควรหมั่นสังเกต หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา
  • ผลผลิตทางการเกษตร ช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหาย และควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านเกษตร ส่วนเกษตรกรที่จะปลูกพืชรอบใหม่ ควรจะปลูกพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย และปลูกได้ดีในสภาพอากาศเย็น เช่น มันฝรั่ง หอมหัวใหญ่ และพืชผักเมืองหนาว เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4-6 พ.ย. มีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ในช่วงวันที่ 7-8 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 9-10 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • เกษตรกร สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้า สลับกับมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับ กันหนาวเอาไว้ให้พร้อม
  • สัตว์เลี้ยง สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ผู้เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนอย่าให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์ เช่น โรคคอบวมในโค-กระบือ และโรคหวัดในสัตว์ปีก
  • ผลผลิตทางการเกษตร ช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหาย และควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านเกษตร ส่วนเกษตรกรที่จะปลูกพืชรอบใหม่ ควรจะปลูกพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย และปลูกได้ดีในสภาพอากาศเย็น เช่น มันฝรั่ง หอมหัวใหญ่ และพืชผักเมืองหนาว เป็นต้น

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 4-6 พ.ย. มีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ หลังจากนั้นอากาศจะเย็นลง อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ข้าวนาปี ช่วงวันที่ 7-9 พ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น และหากต้องการที่จะปลูกข้าวรอบใหม่ควรอยู่ในเขตชลประทาน หากอยู่นอกเขตชลประทานควรเปลี่ยนไปปลูกพืชอายุสั้น และใช้น้ำน้อยแทน
  • พืชผัก แม้ระยะนี้ปริมาณฝนจะลดลง แต่สภาพอากาศยังคงมีความชื้นสูงโดยเฉพาะในตอนเช้า เกษตรกรที่ปลูกผักควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราและศัตรูพืช เช่น โรคราน้ำค้าง และหนอนใยผัก เป็นต้น

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 4-5 พ.ย. อากาศเย็นและหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง หลังจากนั้น อากาศจะเย็นลง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้น เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำในแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ไม้ผล ระยะนี้คงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น รากเน่า โคนเน่า และโรคใบจุด เป็นต้น

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 4-5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 6-9 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่องโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ยางพารา ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน ชาวเรือและชาว
  • ประมง บริเวณอ่าวไทย จะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 4-5 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 6-10 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 6-9 พ.ย. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่องโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พื้นที่การเกษตรที่เป็นที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกหนัก
  • ยางพารา ดินและอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบยางร่วงลูกยางเน่า โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู เป็นต้น โดยดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นสะสมภายในสวน

หมายเหตุรายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตร ในวันที่ 4 – 10 พฤศจิกายน 2559

http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

รายงานสถานการณ์สมดุลน้ำใน 7 วันที่ผ่านมา และการคาดการณ์ผลกระทบต่อการเกษตรในวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2559

ปริมาณฝนสะสมเดือน พฤศจิกายน (1-3) ในระยะที่ผ่านมาทั่วทุกภาคของประเทศไทยมีฝนตกน้อย โดยปริมาณฝนตกสะสมสูงสุดประมาณ 50-100 มม. บริเวณที่จังหวัดชุมพรและนครศรีธรรมราช ส่วนบริเวณอื่นมีปริมาณฝนสะสมอยู่ในช่วง 1-50 มม.

ปริมาณฝนสะสม 7 วันที่ผ่านมา บริเวณภาคใต้มีปริมาณฝนสะสมตั้งแต่ 40 -300 มม. โดยปริมาณฝนสะสมไม่เกิน 150 มม.บริเวณที่มีฝนสะสมน้อยที่สุด คือ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีฝนสะสมน้อยกว่า 20 มม. ส่วนบริเวณจังหวัดราชบุรีเป็นบริเวณที่มีฝนสะสมสูงสุดคือ 100-150 มม.

ศักย์การคายระเหยน้ำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสมอยู่ตั้งแต่ 15-25 มม. เว้นแต่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำสะสม 25-35 มม.

สมดุลน้ำ บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักถึงหนักมาก ทำให้สมดุลน้ำสะสมตั้งแต่ 40-300 มม. โดยมีปริมาณสูงสุดบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณฝนลดลงทำให้สมดุลย์ส่วนมากมีค่าเป็นลบ ยกเว้นภาคเหนือด้านตะวันตกมีค่าสมดุลน้ำเป็นบวก โดยมีค่าสมดุลน้ำอยู่ระหว่าง 20-70 มม.

คำแนะนำ ในช่วง 7 วันที่ผ่านประเทศไทยตอนบนมีปริมารฝนลดลงโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาณฝนสะสมน้อยกว่าค่าปริมาณน้ำที่สูญเสีย โดยการคายน้ำและระเหย และในช่วง7 วันข้างหน้าจะมีฝนเพิ่มในระหว่าง วันที่ 7-10 พ.ย. ซึ่งจะเป็นผลดีต่อพืชที่ขาดน้ำในช่วงที่ผ่านมาส่วนเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ววรหลีกเลี่ยงตากผลผลิตไว้กลางแจ้งเพราะจะทำให้เปียกชื้นเสีบหายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ