พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 19 ธันวาคม 2559 - 25 ธันวาคม 2559

ข่าวทั่วไป Monday December 19, 2016 14:45 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 19 ธันวาคม 2559 - 25 ธันวาคม 2559

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-22 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 16-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 23-25 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

เกษตรกร สัปดาห์นี้มีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป ส่วนยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ตนเอง และสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังจากจุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่น

สัตว์เลี้ยง เกษตรกรควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน และทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรค โดยเฉพาะสัตว์ปีก หากพบสัตว์เจ็บป่วยควรรีบแยกออกแล้วทำการรักษา

ไม้ผล สำหรับลิ้นจี่ และลำไย ที่อยู่ในระยะพักตัวใกล้ออกดอก เกษตรกรควรงดให้น้ำรอจนเห็นตาดอกชัดเจนแล้วค่อยเริ่มให้น้ำ โดยเริ่มจากปริมาณน้อยๆแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น ส่วนมะม่วงที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน ชาวสวนควรระวังการระบาดของราดำในช่วงที่มีหมอกจัด โดยหมั่นสำรวจแปลงปลูกหากพบควรควบคุมด้วยน้ำส้มควันไม้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 19-22 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

สัตว์เลี้ยง สัปดาห์นี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน ป้องกันสัตว์หนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

พื้นที่การเกษตร สภาพอากาศแห้งกับมีลมแรง ทำให้น้ำระเหยไปจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 19-22 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่ออกดอกแล้ว เช่น มะม่วง ชาวสวนควรให้น้ำแก่พืช โดยเริ่มจากปริมาณน้อยๆแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง นอกจากนี้ในช่วงที่มีหมอกชาวสานควรระวังการระบาดของราดำไว้ด้วย

พื้นที่การเกษตร สำหรับสภาพอากาศแห้งทำให้น้ำระเหยไปจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน ส่วนผู้ที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุการเก็บเกี่ยวสั้น โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ซึ่งจะช่วยบำรุงดิน

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 19-22 ธ.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ธ.ค. อากาศเย็น และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร

ไม้ผล ไม้ผลที่อยู่ในระยะก่อนออกดอก เกษตรกรควรงดให้น้ำ เพื่อให้ต้นเตรียมแทงช่อดอก รอจนเห็นดอกชัดเจนแล้วจึงค่อยให้น้ำโดยให้ในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและแมลงศัตรูพืช

พืชผักและไม้ดอก สภาพอากาศแห้ง ทำให้น้ำระเหยไปจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่ปลูกเพิ่มเติม โดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น ไม้ดอกและพืชผักชนิดต่างๆ และคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 19-22 ธ.ค. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา: อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป: มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 ธ.ค. ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา: อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไป: มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

พื้นที่การ เกษตร พื้นที่การเกษตรที่มีน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้

ไม้ผล/ยางพารา/กาแฟ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกยังฝนที่ตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชื้น เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดสัปดาห์ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

พื้นที่การ เกษตร พื้นที่การเกษตรที่มีน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่า ต้นพืชตายได้

ไม้ผล/ยางพารา/กาแฟ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกยังฝนที่ตกต่อเนื่อง สภาพอากาศมีความชื้น เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ