พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 04 มกราคม 2560 - 10 มกราคม 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday January 4, 2017 15:07 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 มกราคม 2560 - 10 มกราคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 4 - 6 ม.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 ม.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม. /ชม.

  • ผลผลิตทางการเกษตร ระยะนี้ จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งในช่วงดังกล่าว เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้
  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เช่น ลิ้นจี่และลำไย เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมอย่างเพียงพอ โดยเริ่มจากปริมาณน้อยๆแล้วค่อยเพิ่มปริมาณมากขึ้น หากขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง
  • พืชผักและกาแฟ สำหรับอากาศชื้นเนื่องจากฝนที่ตกต่อเนื่อง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชผัก และราสนิมในกาแฟ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4 - 6 ม.ค. อากาศเย็น โดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-11 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 ม.ค. อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับสภาพอากาศแห้ง ทำให้น้ำระเหยไปจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชทรุดโทรม โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งและไรแดงในมันสำปะหลัง
  • ปลากระชัง เกษตรกรควรดูแลปริมาณปลาให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำเพื่อไม่ให้ปลาอยู่อย่างแออัด จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำจะทำให้ปลากินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 4 - 7 ม.ค. อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 ม.ค. อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆครั้ง และให้น้ำในช่วงเย็น เพื่อลดอัตราการสูญเสียน้ำโดยการระเหย ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ ควรปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย
  • ปลากระชัง เกษตรกรควรดูแลปริมาณปลาให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำเพื่อไม่ให้ปลาอยู่อย่างแออัด จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำจะทำให้ปลากินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 4 - 6 ม.ค. อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 7 - 10 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • ไม้ผล ระยะนี้มีสภาพอากาศแห้ง ทำให้น้ำระเหยจากดินและพืชได้มาก สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน ชาวสวนควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอเพราะหากขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง ผลผลิตเสียหาย รวมทั้งกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากต้นพืช นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยไฟในมังคุด และไรแดงในทุเรียน ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 6 - 8 ม.ค. ส่วนมากทาง ตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 4 - 6 ม.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ในช่วงวันที่ 7 - 10 ม.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับบริเวณภาคใต้ตอนบน จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ไม้ผล สวนผลไม้ที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากปริมาณน้ำเริ่มลดลงแล้ว เกษตรกรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 4 - 7 ม.ค. บริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน จะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 6 – 8 ม.ค. ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับบริเวณภาคใต้ตอนบน จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
  • ไม้ผล สวนผลไม้ที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากปริมาณน้ำเริ่มลดลงแล้ว เกษตรกรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 4 - 7 ม.ค. บริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน จะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ