พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 06 มกราคม 2560 - 12 มกราคม 2560

ข่าวทั่วไป Friday January 6, 2017 14:01 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 06 มกราคม 2560 - 12 มกราคม 2560

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 6 - 7 ม.ค. 60 อากาศเย็น อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 12 ม.ค. 60 อากาศเย็น อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝน ฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม. /ชม.

  • ผลผลิตทางการเกษตร ระยะนี้ จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้
  • พืชผักและกาแฟ สำหรับอากาศชื้นเนื่องจากฝนที่ตกต่อเนื่อง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชผัก โรคราสนิมในกาแฟ และโรคราแป้ง โรคแอนแทคโนสในสตอรเบอรี่
  • สัตว์เลี้ยง สภาพอากาศเย็นและชื้น ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรระวังการเจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคหวัดในสัตว์ปีก และโรคคอบวมในโคและกระบือ เกษตรกรควรหมั่นสำรวจหากพบสัตว์เจ็บป่วยควรแยกออกและรีบทำการรักษา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 6 - 7 ม.ค. 60 อากาศเย็น โดยมีฝนร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 12 ม.ค. 60 อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับสภาพอากาศแห้ง ทำให้น้ำระเหยไปจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำและรักษาความชื้นในดิน รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกปากดูด ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้พืชทรุดโทรม โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งและไรแดงในมันสำปะหลัง
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์ปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เล็ก และหมั่นสำรวจสัตว์เลี้ยงหากพบสัตว์เจ็บป่วยควรแยกออกแล้วทำการรักษา

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 6 - 7 ม.ค. 60 อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 12 ม.ค. 60 อากาศเย็น โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆครั้ง และให้น้ำในช่วงเย็น เพื่อลดอัตราการสูญเสียน้ำโดยการระเหย ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ ควรปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย
  • พืชไร่ ทางด้านตะวันออกของภาค มีอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันเพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนทางด้านตะวันตกจะมีฝนทำให้การระบาดของเพลี้ยลดลง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 6 - 7 ม.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 8 - 12 ม.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก ประกอบกับปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • ไม้ผล ระยะนี้สภาพอากาศแห้งสำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน ชาวสวนควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยไฟในมังคุด และไรแดงในทุเรียน ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 6 - 8 ม.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ในช่วงวันที่ 9 - 12 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับบริเวณภาคใต้ตอนบน จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้น
  • ไม้ผล สวนผลไม้ทางภาคใต้ตอนล่างที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากปริมาณน้ำเริ่มลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 6 - 7 ม.ค. บริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน จะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวัง และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 6 - 8 ม.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ในช่วงวันที่ 9 - 12 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับบริเวณภาคใต้ตอนบน จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้น
  • ไม้ผล สวนผลไม้ทางภาคใต้ตอนล่างที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา หากปริมาณน้ำเริ่มลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก ไม่ควรปล่อยให้น้ำขังในบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชขาดอากาศ ต้นพืชตายได้
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 6 - 7 ม.ค. บริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน จะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวัง และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ