พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 27 มกราคม 2560 - 02 กุมภาพันธ์ 2560

ข่าวทั่วไป Friday January 27, 2017 14:52 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 27 มกราคม 2560 - 02 กุมภาพันธ์ 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 27-31 ม.ค. 60 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

  • พืชไร่/ พืชผัก อากาศเย็นกับมีหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคราน้ำค้างในพืชผัก ข้าวโพด และพืชตระกูลแตง เป็นต้น และไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้
  • ไม้ผล ไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอก เช่น ลิ้นจี่และลำไย เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมอย่างเพียงพอ โดยเริ่มจากปริมาณน้อยๆแล้วค่อยเพิ่มปริมาณมากขึ้น หากขาดน้ำจะทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง รวมทั้งระวังการระบาดของศัตรูพืชโดยเฉพาะมวนลำไยที่จะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 27 – 30 ม.ค.อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 31 ม.ค. - 2 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้สัตว์เลี้ยงได้รับความอบอุ่นเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สัตว์น้ำ ช่วงที่มีอุณหภูมิลดลงส่งผลให้อุณหภูมิน้ำลดลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับอุณหภูมิน้ำและเป็นการเพิ่มออกซิเจน รวมทั้งลดอาหารให้น้อยลง เพราะสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย อาหารที่เหลือจะทำให้ น้ำเน่าเสียได้ ส่งผลให้ปลาอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 27-30 ม.ค. 60 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 31 ม.ค. - 2 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้มีอากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ไม้ผล เนื่องจากระยะนี้จะไม่มีฝนตกสำหรับไม้ผลที่ออกดอกแล้ว เช่น มะม่วง เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่างๆและโรคราดำ ซึ่งอาจระบาดได้ทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 27-30 ม.ค. 60 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 31 ม.ค. - 2 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตร

  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากขาดน้ำจะทำให้ดอกและผลอ่อนชะงักการเจริญเติบโต และร่วงหล่น รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยและไรชนิดต่างๆ
  • สัตว์น้ำ ช่วงที่อุณหภูมิลดลง เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อปรับอุณหภูมิน้ำไม่ให้เปลี่ยนแปลงมาก รวมทั้งควรลดอาหารลง เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยน สัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อยอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย เป็นเหตุให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 27-28 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 ม.ค.- 2 ก.พ. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การ เกษตร พื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะทางตอนกลางของภาคหากปริมาณฝนลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้และควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • สัตว์เลี้ยง เนื่องจากมีฝนที่ตกต่อเนื่องกับมีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์ โดยเฉพาะโรคคอบวม และโรคปากและเท้าเปื่อยในโคและกระบือ รวมทั้งควรหมั่นสังเกต หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา
  • ประมงชายฝั่ง วันที่ 27-28 ม.ค. คลื่นลมในอ่าวไทยตั้งแต่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 27-28 ม.ค. 60 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29 ม.ค. - 2 ก.พ. 60 ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1- 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การ เกษตร พื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะทางตอนกลางของภาคหากปริมาณฝนลดลงแล้ว เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่าให้น้ำขังบริเวณโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้และควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม
  • สัตว์เลี้ยง เนื่องจากมีฝนที่ตกต่อเนื่องกับมีน้ำท่วมขัง เกษตรกรควรป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์ โดยเฉพาะโรคคอบวม และโรคปากและเท้าเปื่อยในโคและกระบือ รวมทั้งควรหมั่นสังเกต หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ