พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 01 กุมภาพันธ์ 2560 - 07 กุมภาพันธ์ 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday February 1, 2017 14:46 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 01 กุมภาพันธ์ 2560 - 07 กุมภาพันธ์ 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 1-2 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 14-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 3-7 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้อากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป โดยทางตอนบนของภาคจะมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าบริเวณอื่นๆ เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สัตว์เลี้ยง เนื่องจากอุณหภูมิกลางวันและกลางคืนแตกต่าง กันมาก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ไม้ดอกระยะนี้อากาศเย็นและมีหมอกและน้ำค้าง ในตอนเช้า ผู้ที่ปลูกไม้ดอกควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้าง ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 2-3 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 14-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน
  • ยางพารา ระยะนี้สภาพอากาศแห้งประกอบกับบางช่วงมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูกและโรงเก็บพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งหลีกเลี่ยงการจุดไฟในบริเวณสวนหากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 2-3 ก.พ. 60 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้น้ำระเหยมีมากประกอบกับปริมาณฝนมีน้อยทำให้สมดุลน้ำมีค่าเป็นลบ(ปริมาณฝนที่ตกมีน้อยกว่าปริมาณน้ำระเหย) เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม เพราะหากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลผลิตลดลง ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง
  • พืชไร่/พืชผัก/ไม้ผล/ฯลฯ สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เหมาะแก่การระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 2-3 ก.พ. 60 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 4-7 ก.พ. 60 อากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะติดผลอ่อน เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลอ่อนร่วงหล่น การติดผลลดลง
  • ยางพารา เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรที่ปลูกยางพาราควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และหลีกเลี่ยงการจุดไฟในสวนหากจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังจากเสร็จภารกิจ

-พืชไร่ พืชผัก ในบางช่วงอาจมีหมอกและน้ำค้าง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของ โรคราน้ำค้าง ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 1- 2 และ 6-7 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • เกษตรกร ทางตอนบนของภาคอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนทางตอนล่างซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่อาจเกิดหลังน้ำลด เช่นโรคตาแดง โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และโรคน้ำกัดเท้า เป็นต้น
  • ไม้ผล แม้ปริมาณฝนจะลดลงแล้ว แต่ปริมาณน้ำในดินยังคงมีอยู่มาก ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย และอาจตายได้

-พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม และไม่ควรนำเครื่องจักรกลหนักเข้าพื้นที่เพราะดินยังอุ้มน้ำอยู่มากเครื่องจักรอาจติดหล่มได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 1- 2 และ 6-7 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 3-5 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • เกษตรกร ทางตอนบนของภาคอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนทางตอนล่างซึ่งถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมาเกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่อาจเกิดหลังน้ำลด เช่นโรคตาแดง โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และโรคน้ำกัดเท้า เป็นต้น

-พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบพื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้ใช้ได้ดีดังเดิม และไม่ควรนำเครื่องจักรกลหนักเข้าพื้นที่เพราะดินยังอุ้มน้ำอยู่มากเครื่องจักรอาจติดหล่มได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ