พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 08 กุมภาพันธ์ 2560 - 14 กุมภาพันธ์ 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday February 8, 2017 14:38 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 08 กุมภาพันธ์ 2560 - 14 กุมภาพันธ์ 2560

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 8-11 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในวันที่ 12-14 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว ถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้ยังคงมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง และในช่วงวันที่ 12-14 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลร่างกายให้ได้รับความอบอุ่นเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • สัตว์เลี้ยง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สัตว์น้ำ ในช่วงวันที่ 12-14 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส อากาศจะหนาวเย็นลงอาจ ทำให้สัตว์น้ำเครียด กินอาหารได้น้อย ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำจึงควรลดปริมาณอาหารที่ให้ตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันอาหารเหลือ ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย และควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนและปรับอุณหภูมิน้ำ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 9-14 ก.พ. 60 มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 4- 6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว และในช่วงวันที่ 9-14 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง4-6 องศาเซลเซียสและมีลมแรง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจต่างๆ
  • สัตว์เลี้ยง ในช่วงวันที่ 9-14 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส อากาศจะหนาวเย็นและมีลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน ป้องกันสัตว์หนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เล็ก

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 8-10 ก.พ. 60 อากาศเย็น และมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 ก.พ. 60 มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง ในช่วงวันที่ 11-14 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อากาศจะเย็นและมีลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน ป้องกันสัตว์หนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะสัตว์เล็ก
  • พืชไร่/พืชผัก ระยะนี้จะมีอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่และผักชนิดต่างๆ ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราน้ำค้าง ซึ่งจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง

ภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 8-9 ก.พ. 60 อากาศเย็น และมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ก.พ. 60 ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • สัตว์น้ำ ในช่วงวันที่ 10 -14 ก.พ. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อากาศจะเย็นลง อาจทำให้สัตว์น้ำเครียด กินอาหารได้น้อย ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำจึงควรลดปริมาณอาหารที่ให้ตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันอาหารเหลือ ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย และควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนและปรับอุณหภูมิน้ำ
  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน ชาวสวนควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม หากขาดน้ำจะทำให้ดอกและผลอ่อนร่วงหล่น รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยไฟและไรแดง ในมังคุด เงาะ และทุเรียน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 8-9 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 10-12 ก.พ. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล แม้ปริมาณฝนจะลดลงแล้ว แต่ปริมาณน้ำในดินยังคงมีอยู่มาก และในช่วงวันที่ 10-14 ก.พ.การกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย และอาจตายได้
  • ยางพารา ระยะนี้ปริมาณฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ก.พ.การกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย และอาจตายได้ สำหรับบริเวณที่น้ำลดลงแล้ว ชาวสวนควรรีบพื้นฟู กำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค
  • ประมงชายฝั่ง วันที่ 10-14 ก.พ. คลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 8-9 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผล แม้ปริมาณฝนจะลดลงแล้ว แต่ปริมาณน้ำในดินยังคงมีอยู่มาก และในช่วงวันที่ 10-14 ก.พ.การกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น ชาวสวนผลไม้ควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย และอาจตายได้
  • ยางพารา ระยะนี้ปริมาณฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 ก.พ.การกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น ชาวสวนยางพาราควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคใบยางร่วงลูกยางเน่า ซึ่งจะทำให้ต้นพืชเสียหาย และอาจตายได้ สำหรับบริเวณที่น้ำลดลงแล้ว ชาวสวนควรรีบพื้นฟู กำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ