พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 10 กุมภาพันธ์ 2560 - 16 กุมภาพันธ์ 2560

ข่าวทั่วไป Friday February 10, 2017 15:00 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 10 กุมภาพันธ์ 2560 - 16 กุมภาพันธ์ 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-11 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในวันที่ 12-16 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง โดยมีฝนบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 10-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 2-9 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้จะมีอากาศหนาวเย็นโดยทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาคจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณอื่นๆ เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควร เพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์หนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • สัตว์น้ำในช่วงที่อุณหภูมิลดลงสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เพื่อป้องกันอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยให้อาหารในช่วงที่อากาศอุ่นขึ้นคือในช่วงสายและเที่ยงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้ดีกว่าในช่วงที่มีอากาศเย็น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนบางพื้นที่และลมแรง หลังจากนนั้นอุณหภูมิจะลดลง 4- 6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 11-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25-27 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 5-11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

-เกษตรกร เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นในระยะนี้ เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ รวมทั้งระวังการเกิดอัคคีภัย โดยดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังจากจุดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเองแล้ว เพื่อป้องกันไฟลุกลามจนกลายเป็นอัคคีภัย

  • พื้นที่การเกษตร ระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืช เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำในระยะเจริญเติบโต โดยเฉพาะในระยะผลิดอกออกผลเป็นช่วงที่พืชต้องการน้ำมากกว่าระยะอื่นๆ หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะส่งผลให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้สูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้บางพื้นที่อาจมีลมแรง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งแจ้งตอนกลางคืน เพราะจะทำให้สัตว์ที่ไม่แข็งแรงตายได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 11-15 ก.พ. 60 อากาศเย็นถึงหนาว โดยฝนบางพื้นที่และลมแรง หลังจากนนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 15-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.

-พื้นที่การเกษตร สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย แทนการปลูกข้าวนาปรัง เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย

  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยง ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • เกษตรกร เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง และควรให้น้ำในช่วงเย็น เพื่อลดการสูญเสียน้ำโดยการระเหย รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อจะได้มีน้ำใช้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. 60 อากาศเย็น โดยมีฝนบางพื้นที่และลมแรง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-30 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย ประกอบกับปริมาณน้ำระเหยมีมากทำให้สมดุลน้ำมีค่าเป็นลบเป็นส่วนใหญ่ เกษตรกรจึงควรให้น้ำพืชอย่างเหมาะสม และวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
  • ไม้ผล ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและลำต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง
  • ประมงชายฝั่ง ระยะนี้ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. อากาศเย็นกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 10-12 ก.พ. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-29 องศาเซลเซียส

  • เกษตรกร พื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่จะเกิดหลังน้ำลด เช่น โรคตาแดง และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
  • ไม้ผล ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดกิ่งและค้ำยันลำต้นของไม้ผลให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักลำต้นโค่นล้ม เมื่อมีฝนฟ้าคะนอง
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง ควรระวังและป้องกันความเสียหายจากคลื่นซัดฝั่ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หากสัตว์น้ำโตได้ขนาดควรทยอยจับขายไปก่อนบางส่วน เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น สำหรับชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 10 และ 13-16 ก.พ. อากาศเย็นกับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 11-12 ก.พ. อากาศเย็นกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งๆ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

  • เกษตรกร พื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมาหากระดับน้ำลดลงแล้ว เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่จะเกิดหลังน้ำลด เช่น โรคตาแดง และโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
  • ไม้ผล ในช่วงวันที่ 10-15 ก.พ. จะมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดกิ่งและค้ำยันลำต้นของไม้ผลให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักลำต้นโค่นล้ม เมื่อมีฝนฟ้าคะนอง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ