พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 17 กุมภาพันธ์ 2560 - 23 กุมภาพันธ์ 2560

ข่าวทั่วไป Friday February 17, 2017 14:40 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 17 กุมภาพันธ์ 2560 - 23 กุมภาพันธ์ 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-19 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-11 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรดูแลร่างกายให้ได้รับความอบอุ่นเพียงพอ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • สัตว์น้ำ สำหรับอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สัตว์น้ำเครียด กินอาหารได้น้อย ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำจึงควรลดปริมาณอาหารที่ให้ตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันอาหารเหลือ ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย รวมทั้งควรให้อาหารในช่วงเวลาที่มีแสงแดด เพราะจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้มากขึ้น
  • พืชผัก / พืชไร่ สภาพอากาศที่เย็นและชื้น เนื่องจากหมอกและน้ำค้างในตอนเช้า อาจทำให้เกิดการระบาดของโรคพืช เช่น โรคใบจุดสีม่วงในพืชตระกูลหอมกระเทียม โรคใบไหม้ในข้าวโพด และโรคราสนิมในกาแฟ เป็นต้น ซึ่งทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจเปียกชื้น และเสียหายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 17-19 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-12 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. อากาศเย็น อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 9-12 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว และในวันที่ 19-22 ก.พ.อุณหภูมิจะสูงขึ้น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยโดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยง ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย โดยเฉพาะโรคคอบวมใน โค-กระบือ และโรคหวัด ในสัตว์ปีก
  • ไม้ดอก / พืชผัก สำหรับอากาศแห้งและอุณหภูมิสูงขึ้นในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังการระบาดของเพลี้ยไฟ ในดอกเบญจมาศ และต้นพริก ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมและควรคำนึงถึงการใช้น้ำอย่างประหยัดด้วย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 17-20 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. อากาศเย็น อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้มีสภาพอากาศแห้ง ทำให้น้ำระเหยออกจากดินและพืชมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน รวมทั้งให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมและควรคำนึงถึงการใช้น้ำอย่างประหยัดด้วย
  • ข้าว สำหรับสภาพอากาศที่เย็นและชื้นอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคไหม้ ซึ่งจะทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนา หากพบควรรีบควบคุมก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 17-20 ก.พ. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 21-23 ก.พ. อากาศเย็น อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้มีสภาพอากาศแห้ง ทำให้น้ำระเหยออกจากดินและพืชมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน รวมทั้งให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมและควรคำนึงถึงการใช้น้ำอย่างประหยัดด้วย
  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อนชาวสวนควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสมเพื่อป้องกันผลผลิตร่วงหล่น รวมทั้งระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชทรุดโทรม และการติดผลลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 17 - 19 ก.พ. 60 ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 ก.พ. 60 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • พืชไร่และผักชนิดต่างๆ ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่มีปริมาณน้อย ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณเริ่มลดลงแล้ว เกษตรกรควรใช้น้ำที่กักเก็บไว้ อย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • พืชไร่และผักชนิดต่างๆ ระยะนี้แม้จะมีฝนตก แต่มีปริมาณน้อย ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยชนิดต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะนี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณเริ่มลดลงแล้ว เกษตรกรควรใช้น้ำที่กักเก็บไว้ อย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ