พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 08 มีนาคม 2560 - 14 มีนาคม 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday March 8, 2017 15:21 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 08 มีนาคม 2560 - 14 มีนาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 15-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 มี.ค. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 14-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. ทางตอนล่างของภาคจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้
  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณน้อย สภาพอากาศแห้งและอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้มีการสูญเสียน้ำจากดินและพืชได้มาก ดังนั้นเกษตรกรที่ปลูกพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น พืชผัก ไม้ดอก และพืชไร่ ควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่ปลูกและคลุมแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยน้ำจากดิน
  • สัตว์เลี้ยง สำหรับอากาศร้อนในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูร้อนให้กับสัตว์ด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 8-10 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11-14 มี.ค. มีหมอกในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 8 – 10 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือน และพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้
  • สัตว์น้ำ เนื่องจากช่วงนี้น้ำระเหยมีมาก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรดูแลปริมาณน้ำ และจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสม หากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันหนาแน่น จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในวันที่ 8-9 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 10-14 มี.ค. มีหมอกในตอนเช้า กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง สำหรับอากาศร้อนในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูร้อนให้กับสัตว์ด้วย
  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 8-9 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงดังกล่าว

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 8-10 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ส่วนในวันที่ 11-14 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ไม้ผล สภาพอากาศร้อนและแห้ง ทำให้น้ำระเหยจากดินและพืชได้มาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรดูแลให้น้ำสม่ำเสมอและเพียงพอ เพื่อป้องกันผลแคระแกร็นและร่วงหล่น รวมทั้งกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นเพื่อไม่ให้แย่งอาหารและน้ำจากต้นพืช นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 8-10 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ชาวสวนควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร
  • สัตว์น้ำ เนื่องจากช่วงนี้น้ำระเหยมีมาก ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรดูแลปริมาณน้ำ และจำนวนสัตว์น้ำที่เลี้ยงให้เหมาะสม หากขาดความสมดุลจะทำให้สัตว์น้ำอยู่กันหนาแน่น จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร พืชผัก ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณน้อยประกอบกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน การคายน้ำจากดินและพืชเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำที่เหลืออาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต

  • ยางพารา ระยะนี้มีสภาพอากาศแห้งและร้อนในตอนกลางวัน ประกอบกับยางพาราอยู่ระยะผลัดใบ ชาวสวนควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบแปลงปลูกและสำรวจแปลงปลูกสม่ำเสมอ
  • ไม้ผล เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งและร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พืชผัก ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณน้อยประกอบกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน การคายน้ำจากดินและพืชเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำที่เหลืออาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต
  • ยางพารา ระยะนี้มีสภาพอากาศแห้งและร้อนในตอนกลางวัน ประกอบกับยางพาราอยู่ระยะผลัดใบ ชาวสวนควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบแปลงปลูกและสำรวจแปลงปลูกสม่ำเสมอ
  • ไม้ผล เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งและร้อนในตอนกลางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ต่างๆ ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ