พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 13 มีนาคม 2560 - 19 มีนาคม 2560

ข่าวทั่วไป Monday March 13, 2017 15:14 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 13 มีนาคม 2560 - 19 มีนาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-15 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. 60 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ช่วงวันที่ 13-15 มี.ค. จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน โดยมีอุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียสทำให้น้ำระเหยจากผิวดินและพืชมาก เกษตกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลด การระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นในดิน
  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง โดยเฉพาะทางตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้
  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เช่น ลิ้นจี่และลำไย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 13-15 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. 60 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีฝนตกหนัก ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 13-15 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดอุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน ทำให้ผิวดินมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้น้ำระเหยจากผิวดินมาก เกษตกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นในดิน
  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้ นอกจากนี้บริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตร

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 13-15 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง เนื่องจากระยะนี้อากาศร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนควร ดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทสะดวก รวมทั้งจัดหาน้ำดื่มให้เพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูร้อนให้กับสัตว์ด้วย
  • พืชผัก อากาศร้อน น้ำระเหยจากดินมาก เกษตกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชตามความเหมาะสม นอกจากนี้ควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่นเพลี้ย และไร ชนิดต่างๆในพืชไร่ และพืชผัก ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ
  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้

ภาคตะวันออก

ในวันที่ 13-14 มี.ค.60 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 15-19 มี.ค. 60 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ไม้ผล ช่วงวันที่ 13-14 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้มีน้ำระเหยจากดินและพืชมาก สำหรับ ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรดูแลให้น้ำสม่ำเสมอและเพียงพอ เพื่อป้องกันผลแคระแกร็นและร่วงหล่น รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด นอกจากนี้ควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรเนื่องจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 15-19 มี.ค.ไว้ด้วย
  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 15-19 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้
  • สัตว์น้ำ สภาพอากาศร้อน และแห้งในตอนกลางวัน ทำให้น้ำระเหยออกจากแหล่งน้ำมาก เกษตรกรควรดูแลปริมาณสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำเพื่อไม่ให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด จนทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และเนื่องจากอุณหภูมิที่สูง เกษตรกรควรระวังการเน่าเสียของอาหารสัตว์ ซึ่งจะส่งผลให้น้ำเน่าเสีย และปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในวันที่ 13-16 มี.ค. 60 มีเมฆบางส่วน ส่วนในช่วงวันที่ 17-19 มี.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ไม้ผล เนื่องจากสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด โดยเฉพาะ เพลี้ยไฟ และเพลี้ยไก่แจ้ ในทุเรียน ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง
  • พืชผัก ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณน้อยประกอบกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน การคายน้ำจากดินและพืชเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำที่เหลืออาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต และควรใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือให้น้ำโดยระบบน้ำหยด

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในวันที่ 13-17 มี.ค. 60 มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 18-19 มี.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ไม้ผล เนื่องจากสภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด โดยเฉพาะ เพลี้ยไฟ และเพลี้ยไก่แจ้ ในทุเรียน ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง
  • พืชผัก ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณน้อยประกอบกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน การคายน้ำจากดินและพืชเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำที่เหลืออาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติม เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต และควรใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือให้น้ำโดยระบบน้ำหยด

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ