พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 15 มีนาคม 2560 - 21 มีนาคม 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday March 15, 2017 15:36 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 15 มีนาคม 2560 - 21 มีนาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 14-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 16-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

-ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง โดยเฉพาะทางตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้

-พืชไร่/พืชผัก ระยะนี้ในตอนกลางวันอากาศร้อน สำหรับต้นกล้าผักหรือพืชไร่เกษตรกรควรดูแลให้น้ำบ่อยขึ้นและพรางแสงแดด เพื่อช่วยลดการระเหยน้ำจากผิวดินและการคายน้ำจากพืช ส่วนพืชที่ปลูกในแปลงควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอุณหภูมิดินและการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นในดิน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 15-19 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักกับมี ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 21 มี.ค. โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 15-19 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้ นอกจากนี้บริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • พืชไร่ ระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้มีอัตราการสูญเสียน้ำจากดินและพืชมาก เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่โดยเฉพาะในเชตชลประทานควรดูแลให้น้ำบ่อยขึ้นและคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยน้ำจากผิวดินและการคายน้ำจากพืช รวมทั้งช่วยควบคุมอุณหภูมิดินไม่ให้สูงเกินไป เพื่อป้องกันรากพืชเสียหาย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้ ส่วนบริเวณที่มีฝนตกควรเก็กเก็บน้ำไว้ใช้ในระยะต่อไปด้วย
  • พืชผัก/ไม้ดอก ระยะนี้มีอากาศร้อน สำหรับพืชผักและไม้ดอกซึ่งมีระบบรากตื้นเกษตกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับอัตราการคายน้ำและการระเหยน้ำของพืชที่เพิ่มขึ้นเมื่อสภาพอากาศร้อนขึ้น นอกจากนี้ควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร ชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรง ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 16-19 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร ส่วนผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งในช่วงนี้
  • สัตว์น้ำ สภาพอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้น้ำระเหยออกจากแหล่งน้ำมาก เกษตรกรควรดูแลปริมาณสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำเพื่อไม่ให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดและควบคุมอุณหภูมิน้ำให้เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำที่เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคและเนื่องจากอุณหภูมิน้ำที่สูง เกษตรกรควรระวังการเน่าเสียของอาหารสัตว์ ซึ่งจะส่งผลให้น้ำเน่าเสีย และปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในวันที่ 15-17 มี.ค.มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 18-21 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ไม้ผล ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน สำหรับไม้ผลที่กำลังออกดอก เช่น ทุเรียน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด โดยเฉพาะ เพลี้ยไฟ และเพลี้ยไก่แจ้ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกและยอดอ่อนของพืช ทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง
  • พืชผัก ช่วงนี้พื้นที่การเกษตรบริเวณตอนบนของภาคยังมีฝนตกน้อยต่อเนื่อง ประกอบกับการคายน้ำจากดินและพืชยังมีปริมาณสูง ปริมาณน้ำที่เหลืออาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรวางแผนบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับพืชที่ปลูกตลอดฤดูเพาะปลูก โดยเลือกวิธีการและช่วงเวลาการให้น้ำที่เหมาะสมเพื่อลดการสูญเสียน้ำ เช่น ให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือให้น้ำโดยระบบน้ำหยด

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในวันที่ 15-19 มี.ค. มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 20-21 มี.ค.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ไม้ผล ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน สำหรับไม้ผลที่กำลังออกดอก เช่น ทุเรียน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด โดยเฉพาะ เพลี้ยไฟ และเพลี้ยไก่แจ้ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกและยอดอ่อนของพืช ทำให้ดอกร่วงหล่น การติดผลลดลง
  • พืชผัก ช่วงนี้พื้นที่การเกษตรบริเวณตอนบนของภาคยังมีฝนตกน้อยต่อเนื่อง ประกอบกับการคายน้ำจากดินและพืชยังมีปริมาณสูง ปริมาณน้ำที่เหลืออาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรวางแผนบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับพืชที่ปลูกตลอดฤดูเพาะปลูก โดยเลือกวิธีการและช่วงเวลาการให้น้ำที่เหมาะสมเพื่อลดการสูญเสียน้ำ เช่น ให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือให้น้ำโดยระบบน้ำหยด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ