พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 22 มีนาคม 2560 - 28 มีนาคม 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday March 22, 2017 14:40 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 22 มีนาคม 2560 - 28 มีนาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 22-25 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 มี.ค. อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง สำหรับสภาพอากาศที่ร้อน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน และจัดหาน้ำดื่มให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเจ็บป่วย
  • ไม้ผล สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เช่น ลิ้นจี่และลำไย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอ เพราะหากขาดน้ำจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตด้อยคุณภาพ การให้น้ำควรให้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือให้ด้วยระบบน้ำหยด และในช่วงวันที่ 26-28 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผล

ทางการเกษตร โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ซึ่งจะทำให้ผลร่วงหล่นเสียหาย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. 60 อากาศร้อนกับมี ฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส สำหรับในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. 60 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลม ตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิต การเกษตร ในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหาย
  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ยังมีฝนตกต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลดีต่อพืชผลการเกษตร แต่ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นมากขึ้น เหมาะกับการเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโรคไหม้ในข้าวนาปรัง และโรคใบจุดในพืชผักสวนครัว และควรระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนใยผักในพืชผักสวนครัว และหนอนเจาะฝักในข้าวโพด ส่วนบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 22-25 มี.ค. อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง สภาพอากาศที่ร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนควร ดูแลโรงเรือนให้อากาศถ่ายเทสะดวก ลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน รวมทั้งจัดหาน้ำดื่มให้เพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูร้อนให้กับสัตว์ด้วย
  • ผลผลิต การเกษตร ในช่วงวันที่ 26-28 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหาย นอกจากนี้บริเวณที่มีฝนตกเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 22-24 มี.ค. 60 อากาศร้อนกับมี ฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส สำหรับในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ไม้ผล ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้สภาพอากาศร้อนชื้น ซึ่งเหมาะต่อการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งเพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งระวังการระบาดศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนชอนใบอ่อน ในเงาะและมังคุด และในช่วงวันที่ 25-28 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล ซึ่งจะทำให้ผลร่วงหล่นเสียหาย
  • พื้นที่การเกษตร ระยะที่ผ่านมาแม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณยังน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม และวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงแล้ง ส่วนบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 22-25 มี.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ช่วงนี้พื้นที่การเกษตรบริเวณตอนบนของภาคยังมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอตลอดฤดูเพาะปลูก เช่นให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด ส่วนบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ไม้ผล ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้สภาพอากาศร้อนชื้น ซึ่งเหมาะต่อการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งเพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 26 – 28 มี.ค. บริเวณอ่าวไทย จะมีคลื่นลมแรงโดยบริเวณทีมีฝนฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูงประมาณ 2เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 22-25 มี.ค. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 26-28 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ช่วงนี้พื้นที่การเกษตรบริเวณตอนบนของภาคยังมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอตลอดฤดูเพาะปลูก เช่นให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด ส่วนบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ไม้ผล ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้สภาพอากาศร้อนชื้น ซึ่งเหมาะต่อการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งเพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา

หมายเหตุ สำหรับแผนที่แสดงสมดุลน้ำสามารถดาวโหลดได้ตามลิงค์นี้ http://www.arcims.tmd.go.th/dailydata/PET7day.php

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ