พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 27 มีนาคม 2560 - 02 เมษายน 2560

ข่าวทั่วไป Monday March 27, 2017 16:07 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 27 มีนาคม 2560 - 02 เมษายน 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 27-28 มี.ค.และ ในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 29-31 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 18-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง โดยมีฝนฟ้าคะนองสลับกับอากาศร้อนในตอนกลางวัน อาจทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดเชื้อโรค ได้ง่าย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง จะได้ไม่เจ็บป่วย รวมทั้งให้วัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูร้อนให้กับสัตว์ด้วย
  • พืชไร่/ผัก/ไม้ดอก ระยะนี้บริเวณตอนบนและด้านตะวันตกของภาคมีอากาศร้อนและแห้ง ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมามีฝนตก น้อย ปริมาณน้ำที่สูญเสียไปจากการระเหยและการคายน้ำสูงกว่าบริเวณอื่นๆ แม้ในระยะนี้ จะมีฝนฟ้าคะนอง แต่ปริมาณน้ำฝนจะไม่เพียงต่อการเจริญเติบโตของพืช เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับผลผลิตจากสภาวะดังกล่าวด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 27-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. – 2 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิต การเกษตร ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร สำหรับฝนที่ตกจะเป็นผลดีต่อพืชที่กำลังเจริญเติบโต โดยเฉพาะพืชผัก และพืชไร่ที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต แต่ในบางพื้นที่ปริมาณฝนที่ตกมีน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรจัดหาน้ำเพิ่มเติม เพราะหากขาดน้ำ จะทำให้ผลผลิตลดลง ส่วนบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง โดยมีฝนฟ้าคะนองสลับกับอากาศร้อนในตอนกลางวัน อาจทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดเชื้อโรค ได้ง่าย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง จะได้ไม่เจ็บป่วย รวมทั้งให้วัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูร้อนให้กับสัตว์ด้วย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 27-28 มี.ค.และ 1-2 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 29-31 มี.ค. อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้า คะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง โดยมีฝนฟ้าคะนองสลับกับอากาศร้อนในตอนกลางวัน อาจทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดเชื้อโรค ได้ง่าย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง จะได้ไม่เจ็บป่วย รวมทั้งให้วัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูร้อนให้กับสัตว์ด้วย
  • ผลผลิต การเกษตร ในช่วงวันที่ 27-28 มี.ค. และ1-2 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว และหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหาย นอกจากนี้บริเวณที่มีฝนตกเกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 27-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. – 2 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ไม้ผล ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้สภาพอากาศร้อนชื้น ซึ่งเหมาะต่อการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งเพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งระวังการระบาดศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนชอนใบอ่อนในเงาะ และมังคุด
  • พื้นที่การเกษตร ฝนที่ตกในระยะนี้ เกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้และวางแผนจัดการน้ำโดยคำนึงถึงการใช้น้ำอย่างประหยัด สำหรับข้าวนาปรังที่อยู่ในระยะแตกกอถึงตั้งท้อง ชาวนาควรดูแลให้มีน้ำเพียงพอกับความต้องการของพืช เพื่อป้องกันพืชชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 27-28 มี.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 27 มี.ค. – 30 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. – 2 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ช่วงนี้พื้นที่การเกษตรบริเวณตอนบนของภาคยังมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอตลอดฤดูเพาะปลูก เช่นให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด ส่วนบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ไม้ผล ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้สภาพอากาศร้อนชื้น ซึ่งเหมาะต่อการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งเพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งระวังการระบาดศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนชอนใบอ่อนในเงาะ และมังคุด

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 27-30 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 27-28 มี.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ช่วงนี้พื้นที่การเกษตรบริเวณตอนบนของภาคยังมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอตลอดฤดูเพาะปลูก เช่นให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด ส่วนบริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ไม้ผล ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้สภาพอากาศร้อนชื้น ซึ่งเหมาะต่อการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ชาวสวนควรตัดแต่งกิ่งเพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งระวังการระบาดศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนชอนใบอ่อนในเงาะ และมังคุด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ