พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 31 มีนาคม 2560 - 06 เมษายน 2560

ข่าวทั่วไป Friday March 31, 2017 16:04 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 31 มีนาคม 2560 - 06 เมษายน 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างและด้านตะวันออกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 3-6 เม.ย.อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

  • ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 1 -2 เม.ย. ทางด้านตะวันออกและทางตอนล่างของภาค จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว บริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • พื้นที่การเกษตร สภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง ทางตอนบนและด้านตะวันตกของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก อาคารบ้านเรือน ตลอดจนโรงเก็บพืชผลทางด้านการเกษตร รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะควันไฟจะทำทัศนวิสัยลดลง เป็นอันตรายต่อการสัญจร และเป็นมลพิษทางอากาศ
  • พืชไร่/พืชผัก/ ไม้ดอก อากาศแห้ง น้ำระเหยออกจากดินและพืชมาก เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม โดยให้น้ำอย่างประหยัด เช่นให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. -1 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 2-6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตการเกษตร วันที่ 31 มี.ค. - 1 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว บริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ส่วนวันที่ 2- 6 เม.ย. จะมีฝนลดลง และมีแดดจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรนำผลผลิตที่เปียกชื้น มาลดความชื้นก่อนเข้าโรงเก็บ
  • พืชผัก ฝนตกต่อเนื่อง และอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้อากาศร้อนชื้น เหมาะกับการเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคแอนแทรกโนสใน พริก มะเขือ และโรคใบจุดในพืชผักตระกูลกะหล่ำ รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนใยผัก และหนอนเจาะผล

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. และ 3-6 เม.ย.อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 เม.ย.60 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 1 -2 เม.ย. ทางด้านตะวันออกและทางตอนล่างของภาค จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว บริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้สภาพอากาศแปรปวน โดยมีฝนฟ้าคะนองสลับกับอากาศร้อนในตอนกลางวัน อาจทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง จะได้ไม่เจ็บป่วย รวมทั้งให้วัคซีนป้องกันโรคที่จะเกิดในฤดูร้อนให้กับสัตว์ด้วย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. – 2 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 3-6 เม.ย. 60 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 31 มี.ค.- 2 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล และกำลังจะให้ผลผลิต เช่น มะยงชิด และทุเรียน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผลร่วงหล่นเสียหาย
  • พืชไร่/ ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และสภาพอากาศมีความชื้น ซึ่งเหมาะต่อการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเกษตรกรควรดูแลแปลงปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวน ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งระวังการระบาดศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืช ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 2-6 เม.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 1-6 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 1-5 เม.ย.จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่กับฝนตกหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันท่วมขังบริเวณแปลงปลูก
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่องสภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวัง และป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์ โดยเฉพาะโรคคอบวม และโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ รวมทั้งควรหมั่นสังเกต หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา
  • ประมงชายฝั่ง ในช่วงวันที่ 1- 6 เม.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตรชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 2-6 เม.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. -1 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2-6 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ในช่วงวันที่ 1-5 เม.ย.จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่กับฝนตกหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันท่วมขังบริเวณแปลงปลูก
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่องสภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวัง และป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์ โดยเฉพาะโรคคอบวม และโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ รวมทั้งควรหมั่นสังเกต หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ