พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 05 เมษายน 2560 - 11 เมษายน 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday April 5, 2017 15:39 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 05 เมษายน 2560 - 11 เมษายน 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 5-7 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สภาพอากาศที่ร้อนและแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูก และอาคารบ้านเรือน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพราะควันไฟจะทำให้ทัศนะวิสัยลดลง เป็นอันตรายต่อการสัญจร และเป็นมลพิษทางอากาศ
  • ไม้ผล ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายยังไม่ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรประกอบกับในช่วงที่ผ่านมามีฝนตกน้อย ดังนั้นชาวสวนผลไม้ เช่น ลำไย ซึ่งกำลังเจริญเติบโตทางผล ชาวสวนควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติม เพื่อป้องกันผลผลิตชะงักการเจริญเติบโตและแคระแกร็น รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนเจาะขั้วผลและมวนลำไย ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้
  • สัตว์เลี้ยง สำหรับสภาพอากาศที่ร้อน เกษตรกรควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือฉีดน้ำเป็นฝอยภายในโรงเรือน รวมทั้งจัดหาน้ำดื่มให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ง่าย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 5-7 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้จะมีฝนตกน้อยและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้น้ำระเหยจากดินและพืช มาก เกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่ปลูกเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และคลุมโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อสงวนความชื้นในดิน
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในระยะนี้ควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 5-7 เม.ย. อากาศร้อนในตอน ลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้แม้จะมีฝนแต่มีปริมาณน้อย ซึ่งไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช เกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่ปลูกเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และคลุมโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อสงวนความชื้นในดิน ส่วนผู้ที่ต้องการจะปลูกพืชรอบใหม่ ควรรอให้มีปริมาณฝนที่เพียงพอและการกระจายของฝนสม่ำเสมอแล้วค่อยลงมือปลูก
  • พืชไร่/ ไม้ดอก/พืชผัก สำหรับสภาพอากาศร้อน และแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อนในพืชตระกูลถั่ว เพลี้ยไฟในกล้วยไม้ และมะเขือ เป็นต้น ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงของพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เกษตรกรควรหมั่นสำรวจ หากพบควรรีบกำจัดก่อนระบาดเป็นบริเวณกว้าง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 5-8 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 เม.ย.มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ผลผลิตการเกษตร ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เช่น ทุเรียนและมังคุด เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผลร่วงหล่นเสียหายได้
  • ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศชื้น ซึ่งเหมาะต่อการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเกษตรกรควรดูแลแปลงปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งระวังการระบาดศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืช ชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 5-7 เม.ย.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่องโดยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 5-7 เม.ย. ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนล่างของภาคมีฝนตกหนัก ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมในดินมาก ดังนั้นเกษตรกรควรป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันท่วมขังบริเวณแปลงปลูก
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรควรเสริมขอบบ่อให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังฝนตกอาจทำให้อุณหภูมิน้ำในชั้นบนและน้ำในระดับที่ลึกลงไปแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกัน และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ
  • ประมงชายฝั่ง ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 5-7 เม.ย.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่องโดยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 5-7 เม.ย. ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนล่างของภาคมีฝนตกหนัก ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมในดินมาก ดังนั้นเกษตรกรควรป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำออกจากแปลงปลูกให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันท่วมขังบริเวณแปลงปลูก
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรควรเสริมขอบบ่อให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และหลังฝนตกอาจทำให้อุณหภูมิน้ำในชั้นบนและน้ำในระดับที่ลึกลงไปแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกัน และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ