พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 07 เมษายน 2560 - 13 เมษายน 2560

ข่าวทั่วไป Friday April 7, 2017 13:30 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 07 เมษายน 2560 - 13 เมษายน 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 7-11 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศาเซลเซียสส่วนในช่วงวันที่ 12-13 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้มีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานในที่โล่งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้เกรียม และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากปริมาณฝนมีน้อย ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาอุณหภูมิดิน และสงวนความชื้นภายในดิน
  • สัตว์น้ำ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ซึ่งระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมากทำให้ปริมาณน้ำลดลง จึงควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 7-10 เม.ย. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11-13 เม.ย. มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายยังไม่มากและยังไม่ทั่วถึง เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอ และความชื้นในดินเพียงพอก่อนจึงค่อยลงมือปลูกพืช เพื่อป้องกันการขาดน้ำของพืชในระยะเจริญเติบโต
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์โดยนำวัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปไว้ในโรงเรือน หรือฉีดน้ำเป็นฝอย หากมีน้ำเพียงพอควรฉีดน้ำบริเวณหลังคา เนื่องจากเมื่อน้ำระเหยจะเอาความร้อนไปด้วย ทำให้อุณหภูมิลดลงได้
  • เกษตรกร ระยะนี้เป็นช่วงฤดูร้อนเชื้อโรคต่างๆจะเจริญเติบโตได้ดี เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โดยรับประทานแต่อาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ๆ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 7-11 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12-13 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง และควรให้น้ำพืชในช่วงเย็นเพื่อลดการสูญเสียน้ำโดยการระเหยของน้ำ รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูก และโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อรักษาอุณหภูมิดิน สงวนความชื้นภายในดิน
  • สัตว์เลี้ยง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์โดยนำวัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปไว้ในโรงเรือน หรือฉีดน้ำเป็นฝอย หากมีน้ำเพียงพอควรฉีดน้ำบริเวณหลังคา เนื่องจากเมื่อน้ำระเหยจะเอาความร้อนไปด้วย ทำให้อุณหภูมิลดลงได้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 7-8 และ 12-13 เม.ย. มีเมฆ เป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 เม.ย.มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สัตว์น้ำ เนื่องจากระยะนี้มีฝนตก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • ผลผลิตทางการเกษตร สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝนในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรลดความชื้นลงก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหายในโรงเก็บพืชผลทางการเกษตร
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้มีฝนตกและหยุดสลับกัน เกษตรกรที่ปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 7-8 เม.ย.มีฝน ฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่และมีฝนตกหนักมาก บางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 9-13 เม.ย. มีฝน ฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สัตว์น้ำ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ในระยะนี้ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตกใหม่ เพื่อป้องกัน้ำแยกชั้น
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากฝนที่ตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้พืชเสียหาย ต้นพืชตายได้ โดยดูแลแปลงปลูกพืชให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในพื้นที่ปลูก ซึ่งจะทำให้ลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราลงได้
  • ประมงชายฝั่ง ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีคลื่นลมแรงโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 7-9 เม.ย.มีฝน ฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10-13 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • สัตว์น้ำ สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ในระยะนี้ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยนสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย และควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตกใหม่ เพื่อป้องกัน้ำแยกชั้น
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากฝนที่ตกทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้พืชเสียหาย ต้นพืชตายได้ โดยดูแลแปลงปลูกพืชให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในพื้นที่ปลูก ซึ่งจะทำให้ลดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราลงได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ