พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 10 เมษายน 2560 - 16 เมษายน 2560

ข่าวทั่วไป Monday April 10, 2017 15:36 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 10 เมษายน 2560 - 16 เมษายน 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-11 และ16 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ระยะนี้อากาศร้อนและมีแดดจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้ง ควรสวมหมวกและเสื้อผ้าที่ป้องกันแสงแดด และดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากปริมาณฝนมีน้อย ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาอุณหภูมิดิน และสงวนความชื้นภายในดิน
  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว บริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 10-11 และ 15-16 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งและลูกเห็บตกบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้จะมีฝนตกน้อยและมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ทำให้น้ำระเหยจากดินและพืชมาก เกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชที่ปลูกเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และคลุมโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อสงวนความชื้นในดิน รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนใยผัก และหนอนเจาะผล
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้สภาพอากาศแปรปวน โดยมีฝนฟ้าคะนองสลับกับอากาศร้อนในตอนกลางวัน อาจทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรจึงควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง จะได้ไม่เจ็บป่วย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โลงแจ้งเวลามีฝนฟ้าคะนอง
  • ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว บริเวณที่มีฝนตก เกษตรกรควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 10-11 และ 16 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12-15 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ช่วงวันที่ 12-15 เม.ย. อากาศร้อน และมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพื้นที่ทางการเกษตร แต่เนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม และใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชในช่วงเย็นเพื่อลดการสูญเสียน้ำจากการระเหยของน้ำ รวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูก และโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
  • สัตว์เลี้ยง ทางตอนบนของภาคจะมีอากาศร้อน เกษตรกรควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยดูแลโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือฉีดน้ำเป็นฝอยภายในโรงเรือน รวมทั้งจัดหาน้ำดื่มให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์เครียด อ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 10-11 และ 15-16 เม.ย. อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • สัตว์น้ำ เนื่องจากระยะนี้มีฝนตก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งเปิดเครื่องตีน้ำเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ
  • ผลผลิตทางการเกษตร ช่วงวันที่ 12-14 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผลและผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว เช่น ทุเรียนและมังคุด เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ผลปริแตก ร่วงหล่นเสียหายได้
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ฝนตกต่อเนื่อง สภาพอากาศชื้น เหมาะต่อการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เกษตรกรควรดูแลแปลงปลูกให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อลดความชื้นภายในสวนป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา รวมทั้งระวังการระบาดศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืช ชะงักการเจริญเติบโต

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 10-11 เม.ย.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 12-16 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมในดินมาก และในระยะนี้จะมีปริมาณฝนลดลง พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขังในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก และปรับสภาพสวน ให้กลับมาใช้ได้ดังเดิม
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่องสภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวัง และป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์ โดยเฉพาะโรคคอบวม และโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ รวมทั้งควรหมั่นสังเกต หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา
  • ยางพารา บริเวณตอนกลางและตอนล่างของภาค สภาพอากาศชื้นสูงเนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาและในช่วงนี้จะยังคงมีฝนตกต่อไปอีก เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 10-12 เม.ย.มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 13-16 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกหนักหลายพื้นที่ ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมในดินมาก และในระยะนี้จะมีปริมาณฝนลดลง พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมขังในระยะที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบระบายน้ำออกจากแปลงปลูก และปรับสภาพสวน ให้กลับมาใช้ได้ดังเดิม
  • สัตว์เลี้ยง ฝนตกต่อเนื่องสภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวัง และป้องกันการเจ็บป่วยของสัตว์ โดยเฉพาะโรคคอบวม และโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์เท้ากีบ รวมทั้งควรหมั่นสังเกต หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่ม และรีบรักษา
  • ยางพารา บริเวณตอนกลางและตอนล่างของภาค สภาพอากาศชื้นสูงเนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาและในช่วงนี้จะยังคงมีฝนตกต่อไปอีก เกษตรกรควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ