พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 26 เมษายน 2560 - 02 พฤษภาคม 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday April 26, 2017 15:53 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 26 เมษายน 2560 - 02 พฤษภาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. และในช่วงวันที่ 1-2 พ.ค. อากาศร้อนกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 28-30 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 27-29 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะมะม่วงและลิ้นจี่ ที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้ผลแตกและร่วงหล่นได้

สัตว์น้ำ ระยะนี้อากาศร้อนและมีอัตราการระเหยน้ำสูง ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น และปริมาณน้ำลดลง ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน และสัตว์น้ำจะอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย รวมทั้งเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับสัตว์น้ำ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 27-29 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 เม.ย. - 2 พ.ค. อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 27-29 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว

พื้นที่การเกษตร แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณมีน้อยและฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนที่จะถึงนี้ ควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอและดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูก เพื่อป้องกันพืชที่ปลูกขาดน้ำในช่วงเจริญเติบโต ส่งผลให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง

สัตว์เลี้ยง ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองสลับกับอากาศร้อนในตอนกลางวัน อาจทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรจึงควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง จะได้ไม่เจ็บป่วย จัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้กับ สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โลงแจ้งเวลาที่มีฝนฟ้าคะนอง

ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 27-30 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-2 พ.ค. อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 27 – 30 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว ส่วนฝนที่ตกมีบริมาณน้อย ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม และคลุมบริเวณโคนต้นด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยน้ำ และรักษาความชื้นภายในดิน

สัตว์เลี้ยง ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองสลับกับอากาศร้อนในตอนกลางวัน อาจทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรจึงควรดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง จะได้ไม่เจ็บป่วย จัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้กับ สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โลงแจ้งเวลาที่มีฝนฟ้าคะนอง

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 27-29 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. – 2 พ.ค. อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 27-29 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะทุเรียน และมะม่วง ที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้ผลแตกและร่วงหล่นได้

พื้นที่การเกษตร ระยะนี้แม้จะมีฝนแต่ปริมาณน้อย เกษตรกรควรจัดหาน้ำให้แก่พืชตามความจำเป็นและ คลุมผิวดินบริเวณแปลงปลูกด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดการระเหยของน้ำ และรักษาความชื้นในดิน รวมทั้งใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในระยะต่อไป

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 27-29 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. – 2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

พื้นที่การเกษตร ปริมาณฝนที่ตกมีน้อย โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคเกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด ส่วนบริเวณที่มีฝนตกควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ยางพารา ภาคใต้ฝั่งตะวันตก และทางตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้น ทำให้สภาพอากาศมีความชื้น ชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่ง เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา

ไม้ผล ระยะนี้สภาพอากาศชื้น สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อน ชาวสวนควรหมั่นสำรวจและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนชนิดต่างๆ ซึ่งจะกัดกินทำให้ผลผลิตเสียหายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 27-29 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลม กระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 30 เม.ย. – 2 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

พื้นที่การเกษตร ปริมาณฝนที่ตกมีน้อย โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคเกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด ส่วนบริเวณที่มีฝนตกควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย

ยางพารา ภาคใต้ฝั่งตะวันตก และทางตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้น ทำให้สภาพอากาศมีความชื้น ชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่ง เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา

ไม้ผล ระยะนี้สภาพอากาศชื้น สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อน ชาวสวนควรหมั่นสำรวจและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนชนิดต่างๆ ซึ่งจะกัดกินทำให้ผลผลิตเสียหายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ