พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 01 พฤษภาคม 2560 - 07 พฤษภาคม 2560

ข่าวทั่วไป Tuesday May 2, 2017 13:20 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 01 พฤษภาคม 2560 - 07 พฤษภาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 1 - 4 พ.ค. อากาศร้อนกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก เฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิต ที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะลำไยและลิ้นจี่ ที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้ผลแตกและร่วงหล่นได้
  • พืชไร่/ผัก แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณมีน้อยและฝนตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งควรระวังป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนชนิดต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 1 - 3 พ.ค. อากาศร้อนกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ในช่วงวันที่ 4 - 7 พ.ค. อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตการเกษตรในช่วงวันที่ 4-7 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร
  • พืชไร่ระยะนี้มีอากาศร้อนและในช่วงวันที่ 4-7 พ.ค.จะมีฝนฟ้าคะนอง 30-60 ของพื้นที่ สำหรับพืชไร่ เช่น ถั่วชนิดต่างๆ และข้าวโพด ที่แก่ดีแล้วอาจจะได้รับความเสียหายเนื่องจากฝนที่ตก เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยว และลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บที่อากาศถ่ายเทสะดวก นอกจากนี้ไม่ควรกองผลผลิตให้หนาเกินไปหรือไม่ควรกองไว้บนพื้นดินโดยตรงเพื่อช่วยลดโอกาสเกิดสารอะฟลาทอกซิน

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 1 - 4 พ.ค. อากาศร้อนกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้จะมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส และในบางช่วงจะมีฝนฟ้าคะนอง ซึ่งทำให้สภาพอากาศร้อนและมีความชื้นสูง อาจทำให้สัตว์เลี้ยงเครียด อ่อนแอ เบื่ออาหารและติดเชื้อโรคได้ง่าย เกษตรกรควรควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน ดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงจะได้ไม่เจ็บป่วย จัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 1 – 3 พ.ค. อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 4 - 7 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 4-7 พ.ค.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะทุเรียน และมะม่วง ที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้ผลแตกและร่วงหล่นได้
  • สัตว์น้ำระยะนี้มีอากาศร้อนในตอนกลางวันโดยจะมีอุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรควบคุมปริมาณและคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงให้เหมาะสมกับปริมาณและขนาดของสัตว์เลี้ยง ควรลดปริมาณอาหารที่ให้เพื่อป้องกันอาหารเหลือ ซึ่งจะทำให้น้ำเน่าเสีย ส่วนในช่วงวันที่ 4-7 พ.ค.จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหาย เช่น บริเวณที่มีฝนตกหนักอาจเกิดการชะล้างสิ่งตกค้างที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงลงในบ่อ ทำให้เกิดความเสียหายต่อสัตว์เลี้ยงได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 1 – 4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 5 – 7 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ปริมาณฝนที่ตกมีน้อย โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด ส่วนบริเวณที่มีฝนตกควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ไม่ผล ไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและผลอ่อน เช่น เงาะ ทุเรียน และมังคุด ชาวสวนควรหมั่นสำรวจและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนชนิดต่างๆ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 1 – 4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ไม้ผล ไม้ผลที่อยู่ในระยะออกดอกและผลอ่อน เช่น เงาะ ทุเรียน และมังคุด ชาวสวนควรหมั่นสำรวจและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนชนิดต่างๆ ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตเสียหายได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ