พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 03 พฤษภาคม 2560 - 09 พฤษภาคม 2560

ข่าวทั่วไป Wednesday May 3, 2017 14:45 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 03 พฤษภาคม 2560 - 09 พฤษภาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 3 - 4 พ.ค. อากาศร้อนกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ในช่วงวันที่ 4 - 7 พ.ค. จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะลมแรง
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยง ไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังจากฝนตกใหม่ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ
  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้บางพื้นที่แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณและการกระจายยังไม่มาก เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนควรรอให้มีฝนตกสม่ำเสมอ หรือดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือปลูก เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำในระยะเจริญเติบโต

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 4 - 7 พ.ค. อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • เกษตรกร ในช่วงวันที่ 4
  • 7 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งขณะฟ้าคะนอง
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฟ้าคะนอง และควรดูแลสภาพโรงเรือนให้มีความมั่นคงแข็งแรง หลังคาอย่าให้มีรอยรั่วซึม ป้องกันสัตว์เปียกฝนจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • พืชไร่ สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชไร่ในระยะนี้ควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกเอาไว้ให้พร้อม รอให้มีฝนตกสม่ำเสมอแล้วค่อยลงมือปลูก เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำในระยะเจริญเติบโต ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 3 - 4 พ.ค. อากาศร้อนกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนนี้ควรเตรียมดินเอาไว้ให้พร้อม โดยเตรียมพื้นที่เพาะปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี เมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ หรือมีฝนตกสม่ำเสมอแล้วจึงค่อยลงมือปลูก
  • สัตว์น้ำ เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำหลังจากฝนตกใหม่ เกษตรกรไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และควรเปิดเครื่อตีน้ำ เพื่อให้น้ำผสมเป็นเนื้อเดียวกันป้องกันน้ำแยกชั้น
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงโดยมีอากาศร้อน และในบางช่วงอาจมีฝนตก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตวฺเลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 3 - 4 พ.ค. อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 5 - 9 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-9 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • เกษตรกร ในช่วงวันที่ 4 - 7 พ.ค.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูฝน พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดเตรียมระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูก ส่งผลให้พืชเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราได้ง่าย
  • ไม้ผล สำหรับเกษตรกรที่ปลูกไม้ผล ในระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ดังนั้นควรผูกยึดและค้ำยัน กิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก ต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมแรง ผลผลิตเสียหาย

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 3 – 4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 5 – 9 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อน อากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยในช่วงหัวลม
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้จะมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่ง ศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 3 – 4 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ในช่วงวันที่ 5 - 9 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูร้อน อากาศจะแปรปรวน เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยในช่วงหัวลม
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้จะมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ซึ่ง ศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
  • เกษตรกร เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณและการกระจายของฝยมากกว่าทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรดูแลพื้นที่เพาะปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดี เพื่อป้องกันน้ำขังในพื้นที่เพาะปลูก ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ