พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 05 พฤษภาคม 2560 - 11 พฤษภาคม 2560

ข่าวทั่วไป Friday May 5, 2017 15:53 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 05 พฤษภาคม 2560 - 11 พฤษภาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ค. อากาศร้อนกับมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิต ที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะลิ้นจี่ และมะม่วง ที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้ผลแตกและร่วงหล่นได้
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้อากาศแปรปรวนโดยมีอากาศร้อน สลับกับมีฝนตก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • พื้นที่การเกษตร สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึงควรเตรียมพื้นที่เพาะปลูกให้พร้อม รอให้มีฝนตกสม่ำเสมอ หรือดินมีความชื้นเพียงพอ จึงค่อยลงมือปลูก เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำในระยะเจริญเติบโต

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชไร่ เช่น ถั่วชนิดต่างๆ มันสำปะหลัง และข้าวโพด และหลีกการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฟ้าคะนอง และควรดูแลสภาพโรงเรือนให้มีความมั่นคงแข็งแรง หลังคาอย่าให้มีรอยรั่วซึม ป้องกันสัตว์เปียกฝนจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
  • พืชผัก ฝนตกต่อเนื่อง ทำให้อากาศชื้น เหมาะกับการเกิดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคแอนแทรกโนสใน พริก มะเขือ และโรคใบจุดในพืชผักตระกูลกะหล่ำ รวมทั้งระวังศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนใยผัก และหนอนเจาะผล

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพืชไร่ เช่น ถั่วชนิดต่างๆ มันสำปะหลัง และข้าวโพด และหลีกการตากผลผลิตไว้กลางแจ้ง
  • สัตว์เลี้ยง ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลงโดยมีอากาศร้อน และในบางช่วงอาจมีฝนตก เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

  • ผลผลิตการเกษตร ในช่วงวันที่ 5-7 พ.ค.จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ผลผลิตที่แก่ดีแล้วควรรีบเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะทุเรียน และมังคุด ที่อยู่ในระยะผลแก่และเก็บเกี่ยว ซึ่งจะทำให้ผลปริแตกและร่วงหล่นในทุเรียน รวมทั้งอาการเนื้อแก้วและยางไหลในมังคุด
  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปจะเป็นฤดูฝน พื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่ม เกษตรกรควรจัดเตรียมระบบระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันน้ำขังในแปลงปลูก ส่งผลให้พืชเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราได้ง่าย โดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล และโรคเน่าคอดินในพืชไร่

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักในช่วงวันที่ 10 – 11 พ.ค. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • พื้นที่การเกษตร ภาคใต้ตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณฝนที่ตกมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ให้น้ำบริเวณทรงพุ่ม หรือระบบน้ำหยด ส่วนบริเวณที่มีฝนตกควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ยางพารา ภาคใต้ฝั่งตะวันตก และทางตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้น ทำให้สภาพอากาศมีความชื้น ชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่ง เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้จะมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักชนิดต่างๆ ซึ่ง ศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 5 - 7 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 8-11 พ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-30 กม. /ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

  • ยางพารา ภาคใต้ฝั่งตะวันตก และทางตอนล่างของภาคใต้ฝั่งตะวันออกจะมีฝนเพิ่มขึ้น ทำให้สภาพอากาศมีความชื้น ชาวสวนควรดูแลสวนให้โปร่ง เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อรา
  • พืชไร่/ไม้ผล/พืชผัก ระยะนี้จะมีฝนตกในบางวัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักชนิดต่างๆ ซึ่ง ศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ