พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 16 มิถุนายน 2560 - 22 มิถุนายน 2560

ข่าวทั่วไป Friday June 16, 2017 15:25 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 16 มิถุนายน 2560 - 22 มิถุนายน 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 16-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 18-22 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตร เนื่องจากระยะที่ผ่านมาหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคมีฝนตกน้อยกว่าอัตราการสูญเสียน้ำจากการระเหยน้ำและการคายน้ำของพืช และในช่วงวันที่ 18-22 มิ.ย. จะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาค ซึ่งจะเป็นผลดีสำหรับกล้าข้าวที่กำลังเจริญเติบโต บริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ด้านการเกษตรในระยะต่อไปด้วย
  • พืชไร่/ พืชผัก ระยะนี้อากาศมีความชื้นสูง ซึ่งอาจชักนำให้เกิดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในข้าวโพด และพืชผักชนิดต่างๆ เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกหากพบต้นที่แสดงอาการของโรคให้รีบกำจัด นอกจากนั้นบริเวณที่มีฝนตกหนักเกษตรกรควรเก็บกักน้ำไว้ใช้ด้านการเกษตรในระยะต่อไปด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 16-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 18-22 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส ณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้บางพื้นที่แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณและการกระจายจะน้อยกว่าระยะที่ผ่านมา ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชโดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทานบริเวณตอนล่างของภาค เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ตลอดช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • พืชไร่ ระยะนี้อากาศมีความชื้นสูงโดยเฉพาะบริเวณตอนบนของภาค ซึ่งอาจชักนำให้เกิดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเหี่ยวเน่าแดงและโรคแส้ดำในอ้อย เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกหากพบต้นที่แสดงอาการของโรคให้รีบกำจัด

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 16-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 18-22 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้บางพื้นที่แม้จะมีฝนตก แต่ปริมาณและการกระจายยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืชโดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ตลอดช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ไม้ผลระยะนี้มีปริมาณและการกระจายของฝนลดลง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืช เช่น หนอนชนิดต่างๆในองุ่น ซึ่งจะกัดกินใบและช่อดอก รวมทั้งส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพได้

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 16-17 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ในช่วงวันที่ 18-22 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 -35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ในระยะ 1-2 วันนี้จะมีฝนตกน้อย แต่ในช่วงวันที่ 18-22 มิ.ย.ปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น กับจะมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกน้อยในระยะที่ผ่านมาเกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมตามความเหมาะสม รวมทั้งวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ตลอดช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ข้าวนาปีระยะ 1-2 วันนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะปริมาณและการกระจายของฝนจะเพิ่มขึ้น สำหรับข้าวที่อยู่ในระยะกล้า ชาวนาควรสำรวจแปลงนาและปรับปรุงลดลงในหลายพื้นที่ และในช่วงวันที่ 18-22 มิ.ย.ระดับของคันนาและระบบระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อป้องกันน้ำท่วมต้นกล้าเมื่อเกิดฝนตกหนัก

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 16-17 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ในช่วงวันที่ 18-22 มิ.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรสำหรับบริเวณตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งจะมีฝนลดลงในระยะนี้ เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อย
  • ไม้ผลเนื่องจากระยะที่ผ่านมาบริเวณตอนล่างของภาคมีปริมาณฝนน้อยกว่าปริมาณน้ำที่สูญเสียโดยการคายน้ำของพืชและการระเหยน้ำ ประกอบกับระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่บางพื้นที่มีปริมาณฝนไม่เพียงพอกับความต้องการของไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อน ดังนั้นผู้ที่ปลูกไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อนควรจัดหาน้ำให้แก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันผลผลิตแคระเกร็นและร่วงหล่น
  • ชาวประมง ในช่วงวันที่ 18- 22 มิ.ย. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 16-18 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 19-22 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส

  • ไม้ผลเนื่องจากระยะที่ผ่านมาบริเวณตอนล่างของภาคมีปริมาณฝนน้อยกว่าปริมาณน้ำที่สูญเสียโดยการคายน้ำของพืชและการระเหยน้ำ ประกอบกับระยะนี้แม้จะมีฝนตกแต่บางพื้นที่มีปริมาณฝนไม่เพียงพอกับความต้องการของไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อน ดังนั้นผู้ที่ปลูกไม้ผลที่อยู่ในระยะผลอ่อนควรจัดหาน้ำให้แก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันผลผลิตแคระเกร็นและร่วงหล่น
  • ชาวประมง ในช่วงวันที่ 18- 22 มิ.ย. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ