พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรระหว่าง 30 มิถุนายน 2560 - 06 กรกฎาคม 2560

ข่าวทั่วไป Friday June 30, 2017 15:50 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 30 มิถุนายน 2560 - 06 กรกฎาคม 2560

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย.– 1 ก.ค. และ ในช่วงวันที่ 5 – 6 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม. /ชม.

  • พื้นที่การเกษตรระยะนี้บริเวณตอนบนของภาคจะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพื้นที่การเกษตรและผลผลิตทางการเกษตร ส่วนทางตอนล่างของภาคจะมีฝนน้อยกว่าบริเวณอื่นๆ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง
  • กาแฟระยะนี้จะมีฝนตกต่อเนื่องโดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูกกาแฟควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิม และโรคใบจุด โดยดูแลบริเวณสวนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย.– 1 ก.ค. และ ในช่วงวันที่ 5 – 6 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. – 1 ก.ค. บริเวณตอนบนของภาคจะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับจะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพื้นที่การเกษตรและผลผลิตทางการเกษตร ส่วนทางตอนล่างของภาคจะมีฝนน้อยกว่าบริเวณอื่นๆ เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตร เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง
  • พืชไร่ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. – 1 ก.ค. บริเวณตอนบนของภาคจะยังคงมีฝนตกหนัก ทำให้สภาพอากาศมีความชื้นสูงซึ่งอาจชักนำให้เกิดการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในข้าวโพดและพืชตระกูลถั่ว โรคแส้ดำในอ้อย เป็นต้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกเพื่อลดความชื้นและกำจัดแหล่งหลบซ่อนของแมลงศัตรูพืชต่างๆ

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย.– 1 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 6 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

  • พื้นที่การเกษตรเนื่องจากปริมาณและการกระจายของฝนที่ลดลงโดยเฉพาะตอนกลางและด้านตะวันออกของภาค เกษตรกรควรกักเก็บน้ำและวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ในช่วงที่ฝนตกน้อย
  • ข้าวนาปีสำหรับข้าวนาปีที่อยู่ในระยะกล้า ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยไฟ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากในอ่อนของต้นกล้า โดยควรดูแลแปลงกล้าข้าวอย่าให้ขาดน้ำและหมั่นสำรวจหากพบควรรีบกำจัด

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย.–1 ก.ค. และ ในช่วงวันที่ 5 – 6 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. – 1 ก.ค.จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อจากนั้นปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลงโดยเฉพาะบริเวณตอนบนของภาค เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมกับพืชและระยะการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในระยะต่อไป
  • ข้าวนาปีสำหรับข้าวนาปีที่อยู่ในระยะกล้า ชาวนาควรระวังและป้องกันการระบาดของเพลี้ยไฟ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากในอ่อนของต้นกล้า โดยควรดูแลแปลงกล้าข้าวอย่าให้ขาดน้ำและหมั่นสำรวจหากพบควรรีบกำจัด

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย.– 1 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 6 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 -30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตรบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกปริมาณฝนจะลดลง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชเพิ่มเติมตามความเหมาะสมกับพืชและระยะการเจริญเติบโตของพืชโดยเฉพาะบริเวณตอนบนของภาค เช่น บริเวณจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำที่กักเก็บเอาไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในระยะต่อไป
  • ไม้ผลสำหรับไม้ผลที่กำลังเจริญเติบโตทางผล เช่น เงาะ ทุเรียน และมังคุด ชาวสวนควรดูแลให้น้ำเพิ่มเติม เพื่อป้องกันผลชะงักการเจริญเติบโตและร่วงหล่น รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนชนิดต่างๆ ซึ่งจะกัดกินทำให้ผลผลิตเสียหายได้

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. – 1 ก.ค. และ ในช่วงวันที่ 5 – 6 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2 – 4 ก.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียสต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

  • พื้นที่การเกษตร ระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีฝนลดลง สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายในระยะที่ผ่านมาเกษตรกรควรรีบฟื้นฟูให้ใช้การได้ดังเดิมและควรเตรียมป้องกันความเสียหายจากสภาวะฝนตกหนักในระยะต่อไปด้วย
  • ชาวประมงในช่วงวันที่ 30 มิ.ย.– 1 ก.ค. บริเวณทะเลอันดามันตอนบนจะมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ